เขตอำเภอเชียงแสน
อำ
เภอเชียงแสน เป็นอำเภอเล็กๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ
59 กิโลเมตร โดยแยกจากทางหลวงหมายเลข 110 ที่อำเภอแม่จัน ไปตามทางหลวงหมายเลข
1016 ประมาณ 31 กิโลเมตร เชียงแสนเป็นเมืองเก่าแก่มากแห่งหนึ่งในภาคเหนือ
เดิมชื่อเวียงหิรัญนครเงินยาง แม้ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมืองโบราณ 2
ชั้น และโบราณสถานหลายแห่งปรากฏอยู่ทั้งในและนอกตัวเมือง นักท่องเที่ยวสามารถแวะสอบถามข้อมูล
และชมแบบจำลองเมืองเชียงแสนได้ ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งตั้งอยู่เยื้องกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุ ที่ได้จากบริเวณเมืองโบราณเชียงแสน
และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ลวดลายปูนปั้นฝีมือล้านนา พระพุทธรูปและศิลาจารึก
จากเชียงแสนและจากจังหวัดพะเยา พร้อมทั้งให้ข้อมูลทางด้านวิชาการเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี
การตั้งถิ่นฐานของชุมชน และประวัติการสร้างเมืองเชียงแสน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงศิลปะพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่
ไทยลื้อและชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ เครื่องเขิน เครื่องดนตรี เครื่องประดับ
อุปกรณ์การสูบฝิ่น เป็นต้น เปิดทำการตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ทุกวัน
ยกเว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชมชาวไทย คนละ 10
บาท ชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท
วัดพระธาตุเจดีย์หลวง
ตั้งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสนด้านทิศตะวันออก สร้างโดยพระเจ้าแสนภูเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่
19 โบราณสถานประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงระฆังแบบล้านนา สูง 88 เมตร ฐานกว้าง
24 เมตร เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในเชียงแสน นอกจากนี้มีพระวิหารซึ่งเก่ามากพังทลายเกือบหมดแล้ว
และเจดีย์รายแบบต่างๆ 4 องค์
วัดพระเจ้าล้านทอง
วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง เจ้าทองงั่ว ราชโอรสพระเจ้าติโลกราชเป็นผู้สร้างเมื่อ
พ.ศ. 2032 ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งหนักล้านทอง (1,200 กิโลกรัม)
ขนานนามว่า พระเจ้าล้านทอง เป็นพระประธานหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 3 เมตรเศษ
ในวัดนี้ยังมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งได้มาจากวัดทองทิพย์ซึ่งเป็นวัดร้าง
เรียกกันว่า พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง พระพักตร์งดงามมาก
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 1 ศอก 15 นิ้ว สูง 2 ศอก
10 นิ้ว
วัดป่าสัก อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันตกประมาณ
1 กิโลเมตร ในเขตตำบลเวียง พระเจ้าแสนภูทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1838
และให้ปลูกต้นสักแวดล้อมกำแพงจำนวน 300 ต้น จึงได้ชื่อว่า "วัดป่าสัก"
ทรงตั้งพระพุทธโฆษาจารย์เป็นสังฆราชจำพรรษา ณ อารามแห่งนี้ ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญคือ
เจดีย์ประธานทรงมณฑปยอดระฆัง ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร มีฐานกว้าง
8 เมตร สูง 12.5 เมตร เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูกตาตุ่มข้างขวาจากเมืองปาฏลีบุตร
วัดพระธาตุจอมกิตติ อยู่ในท้องที่อำเภอเชียงแสน
ตั้งอยู่บนเนินเขานอกกำแพง มีทางแยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 1.7 กิโลเมตร
ตามพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าพังคราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง เมื่อ พ.ศ.
1483 สมัยเดียวกับการสร้างพระธาตุจอมทองของเชียงราย ทั้งนี้เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
เป็นเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสองสมัยเชียงแสน ต่อมาพระเจ้าสุวรรณคำล้านได้เสริมและปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุใหม่
ขณะนี้สูง 13 เมตร ฐานกว้าง 8 เมตร
วัดสังฆาแก้วดอนหัน มีประวัติตามตำนานว่า
สร้างโดยพระเจ้าลวจักราช เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 12 แต่หลักฐานที่พบแสดงว่ามีอายุอยู่ในช่วงไม่เกินพุทธศตวรรษที่
21 กรมศิลปากรได้ขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะภาพขูดขีดบนแผ่นอิฐเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระชาติของพระพุทธเจ้าตอนเวสสันดรชาดก
เช่น พระเวสสันดรเดินป่า ชูชกเฝ้าพระเวสสันดร เป็นต้น ลักษณะของภาพเป็นการเขียนลงบนอิฐก่อนการเผา
ที่น่าสนใจคือ อิฐดังกล่าวถูกนำมาก่อเป็นผนังและฉาบปูนปิดทับ คงเนื่องจากความศรัทธาของชาวบ้านผู้สร้างวัดถวายมากกว่าเจาะจงให้คนมาชม
นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนจิตรกรรมฝาผนังที่หลุดพังมาจากผนังวิหาร มีสภาพแตกหักแต่ยังคงเหลือลักษณะของสีและตัวภาพซึ่งใช้สีชาดและสีแดงเพียง
2 สี นับได้ว่าเป็นการค้นพบที่สำคัญทางวิชาการอย่างยิ่ง
ทะเลสาบเชียงแสน เป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ในท้องที่ตำบลโยนก
ห่างจากเชียงแสน 5 กิโลเมตร ตามทางสายเชียงแสน-แม่จัน จะมีทางแยกซ้ายบริเวณ
กม. ที่ 27 ไปอีก 2 กิโลเมตร ในฤดูหนาวจะมีฝูงนกน้ำอพยพมาอาศัยที่ทะเลสาบแห่งนี้
ริมทะเลสาบมีร้านอาหารและที่พัก
สบรวก (ดินแดนแห่งสามเหลี่ยมทองคำ)
ตั้งอยู่ห่างจากเชียงแสนไปทางทิศเหนือ 9 กิโลเมตร ตามถนนเลียบริมแม่น้ำโขง
สบรวกเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงซึ่งกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว
มาพบกับแม่น้ำรวก ซึ่งกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า จากจุดนี้นักท่องเที่ยวจะมองเห็นฝั่งพม่าและลาวได้ถนัดชัดเจน
สามเหลี่ยมทองคำ เป็นที่กล่าวขวัญกันในหมู่นักท่องเที่ยว เพราะครั้งหนึ่งเคยเป็นไร่ฝิ่นที่ใหญ่โตมาก
เรียกว่าใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ แต่ปัจจุบันไม่มีไร่ฝิ่นที่ว่านี้อีกแล้ว
คงเหลือแต่ทิวทัศน์ที่เงียบสงบของลำน้ำและเขตแดนของ 3 ประเทศเท่านั้น
บริเวณสบรวกมีบริการเรือให้เช่าเพื่อเดินทางไปชมทิวทัศน์บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ
ใช้เวลา 20 นาที และยังสามารถเช่าเรือจากสบรวกไปยังเชียงแสนและเชียงของได้
ใช้เวลาประมาณ 40 นาที และ 1 ชั่วโมงครึ่งตามลำดับ
พระธาตุดอยปูเข้า แยกซ้ายจากเส้นทางเชียงแสน-สบรวก
ก่อนถึงสามเหลี่ยมทองคำเล็กน้อย รถยนต์สามารถขึ้นไปถึงยอดเขา หรือจะเดินขึ้นบันไดไปก็ได้
พระธาตุปูเข้านี้ สร้างขึ้นบนดอยเชียงเมี่ยง ริมปากน้ำรวก เมื่อ พ.ศ.
1302 ในสมัยพระยาลาวเก้าแก้วมาเมือง กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งเวียงหิรัญนครเงินยาง
โบราณสถานประกอบด้วยพระวิหาร และกลุ่มเจดีย์ที่พังทลาย ก่อด้วยอิฐมีร่องรอยการตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น
นอกจากนี้บนดอยเชียงเมี่ยงยังเป็นจุดชมวิว สามารถมองเห็นสามเหลี่ยมทองคำได้ชัดเจน
วัดพระธาตุผาเงา อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนไปตามเส้นทางเชียงแสน-เชียงของ
ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามโรงเรียนสบคำ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีเนื้อที่
143 ไร่ มีเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่ วิหารปัจจุบันสร้างทับซากวิหารเดิม
บนยอดเขาข้างหลังวัด เป็นที่ตั้งของพระบรมพุทธนิมิตรเจดีย์ที่มองเห็นทิวทัศน์สวยงามได้โดยรอบ
วัดเจดีย์เจ็ดยอด อยู่เหนือวัดพระธาตุผาเงาขึ้นไปบนดอยประมาณ
1 กิโลเมตร ตัววัดหักพังหมดแล้ว เหลือแต่เพียงซากอิฐเก่าๆ ดูแทบไม่เห็นรูปร่างแล้ว
อาจกล่าวได้ว่า วัดพระธาตุผาเงาและวัดเจดีย์เจ็ดยอดอยู่บนเขาลูกเดียวกัน
มีบริเวณต่อเนื่องกันอย่างกว้างขวาง บริเวณร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่ สมกับเป็นสถานปฏิบัติธรรม
น้ำตกบ้านไร่ ตั้งอยู่บ้านไร่ หมู่ที่
9 ตำบลบ้านแซว ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ
15 กิโลเมตรเศษ โดยเส้นทาง รพช. สายบ้านเวียง-เชียงของ (สายเดียวกันกับไปพระธาตุผาเงา)
เป็นน้ำตกธรรมชาติตกจากดอยผาแตก บริเวณน้ำตกเป็นป่าร่มรื่น
เขตอำเภอเชียงของ
อำเภอเชียงของ
เป็นอำเภอเล็กๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีแนวขนานไปกับลำน้ำโขง นักท่องเที่ยวสามารถชมทิวทัศน์อันสวยงามสองฝั่งแม่น้ำโขง
นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงในเรื่องประเพณีการจับปลาบึกอีกด้วย
อำเภอเชียงของอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 141 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอำเภอเชียงแสน-เชียงของ
(ทางหลวงหมายเลข 1129) เป็นทางเลียบฝั่งโขง ระยะทางจากเชียงแสนประมาณ
55 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือ จากอำเภอแม่จัน ใช้เส้นทางแม่จัน-บ้านกิ่วพร้าว-บ้านแก่น
(ทางหลวงหมายเลข 1098) บ้านแก่น-บ้านทุ่งงิ้ว (ทางหลวงหมายเลข 1174)
และบ้านทุ่งงิ้ว-เชียงของ รวมระยะทางจากเชียงรายประมาณ 137 กิโลเมตร
ทางราดยางตลอดสาย
หาดจับปลาบึก อยู่ที่บ้านหาดไคร้ หมู่ที่
12 ตำบลเวียง ซึ่งเป็นแหล่งจับปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด โดยมีฤดูการจับอยู่ในระหว่างกลางเดือนเมษายน
ถึงเดือนพฤษภาคม ในแต่ละปีมีการผสมพันธุ์ปลาบึกที่สถานีประมงเชียงของ
เพื่อนำพันธุ์ปลาบึกที่ผสมได้แจกจ่าย ปล่อยตามแหล่งน้ำสาธารณะต่างๆ ทั่วประเทศ
ท่าเรือบั๊ค จุดผ่านแดนถาวรระหว่างไทย-ลาว
ริมฝั่งแม่น้ำโขง มองเห็นทิวทัศน์ของเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ชัดและสวยงาม
นักท่องเที่ยวสามารถข้ามไปฝั่งลาวได้ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. ติดต่อกรอกแบบฟอร์มขอผ่านแดนที่ศูนย์อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
ในบริเวณที่ว่าการอำเภอเชียงของได้ทุกวัน เตรียมรูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป
และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด พร้อมเงินค่าธรรมเนียม 10 บาท นอกจากนั้นแล้วในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนเมษายน
จะมีการจัดงานรื่นเริงและร้านค้าตามชายหาดริมฝั่งแม่น้ำโขงเป็นประจำทุกปี
บ้านหาดบ้าย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางเชียงแสน-เชียงของ
ซึ่งเป็นถนนเลียบริมแม่น้ำโขง เป็นหมู่บ้านของชาวไทยลื้อที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงามน่าสนใจ
โดยเฉพาะฝีมือการทอผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงจากอำเภอเชียงของ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือหางยาวไปยังบ้านหาดบ้ายใช้เวลาประมาณ
1 ชั่วโมง และยังได้เที่ยวชมทัศนียภาพสองฝั่งโขงอันสวยงามอีกด้วย
เขตอำเภอเวียงแก่น
 
ดอยผาตั้ง เป็นจุดชมวิวไทย-ลาว สองฝั่งโขง และทะเลหมอกได้ตลอดปี
โดยเฉพาะช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ดอกซากุระจะบานสะพรั่งงดงามเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ
ม้ง และเย้า โดยเฉพาะจีนฮ่อนั้น อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของกองพล 93 ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยผาตั้งนี้
ปัจจุบันประกอบอาชีพทางการเกษตร ปลูกพืชเมืองหนาว เช่น บ๊วย ท้อ สาลี่
แอปเปิ้ล และชา
การเดินทางจากจังหวัดเชียงราย
ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางเชียงราย-เวียงชัย-พญาเม็งราย-บ้านต้า
(ทางหลวงหมายเลข 1233, 1173 และ 1152) 50 กิโลเมตร บ้านต้า-บ้านท่าเจริญ
(ทางหลวง 1020) 45 กิโลเมตร บ้านท่าเจริญ-เวียงแก่น-ปางหัด (ทางหลวง
1155) 17 กิโลเมตร และปางหัด-ดอยผาตั้ง อีก 15 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ
1 กิโลเมตร จึงจะถึงจุดชมวิว 103 สภาพเส้นทางบางช่วงสูงชัน ผู้ผ่านเข้าออกพื้นที่ต้องพกบัตรประชาชนไปแสดงด้วย
เป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ในความดูแลของกองทัพภาคที่ 3 บนดอยผาตั้งมีที่พัก
สถานที่กางเต็นท์และร้านอาหาร สามารถไปเที่ยวได้ตลอดปี
 
ภูชี้ฟ้า เป็นจุดชมวิวอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง
ลงมาทางทิศใต้ 20 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลม ชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า
บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้างถึง 1 ตารางกิโลเมตร โดยมีหน้าผาเป็นแนวยาว
ยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว มองเห็นหมู่บ้านลาวที่เรียกว่า เชียงตอง ยามเช้าในฤดูหนาวจะมีทะเลหมอกและอากาศหนาวเย็น
โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ จะเป็นช่วงที่ดอกเสี้ยว หรือดอกชงโคป่า บานสะพรั่งอยู่ทั่วไปบริเวณภูชี้ฟ้า
การเดินทาง จากจังหวัดเชียงรายระยะทางประมาณ 108 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางเชียงราย-เทิง
ระยะทาง 64 กิโลเมตร และจากเทิง-ปางค่า ระยะทาง 24 กิโลเมตร จากนั้นเป็นทางลูกรัง
ถึงภูชี้ฟ้าระยะทาง 19 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทาง1021 เทิง-เชียงคำ ระยะทาง
27 กิโลเมตร ก่อนถึงเชียงคำ 6 กิโลเมตร มีทางแยกไปวนอุทยานน้ำตก๓ซาง
(1093) บ้านฮวก อีก 19 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อไปยังภูชี้ฟ้าอีก 30 กิโลเมตร
(ควรใช้จิ๊ปหรือกะบะ) แล้วเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตรกว่า จึงจะถึงจุดชมวิว
ทางเดินเท้ามีสภาพสูงชันมาก นอกจากนี้จากสถานีขนส่งเชียงรายมีรถโดยสารไปยังภูชี้ฟ้าและดอยผาตั้ง
รถออกเวลา 12.30 น. รายละเอียดติดต่อ บ. สหกิจ โทร. (053) 711654
ภูชี้ฟ้าเป็นพื้นที่ในความดูแลของกองทัพภาคที่
3 มีบ้านพัก 40 หลัง มีห้องน้ำในตัว แต่ไม่มีเครื่องนอน ไฟฟ้า และร้านอาหาร
นักท่องเที่ยวต้องเตรียมอุปกรณ์ของใช้ที่จำเป็นต่างๆ ไปเอง และมีสถานที่ตั้งแคมป์ด้วย
เขตอำเภอเวียงแก่น
พระธาตุจอมแว่ ตั้งอยู่บนภูเขาจอมแว่ หมู่ที่ 2 ตำบลเมืองพาน
3 กิโลเมตร เป็นพระธาตุที่มีประชาชนชาวอำเภอพานและอำเภอใกล้เคียงนับถือกันว่าเป็นพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์
เมื่อถึงเดือน 8 เหนือ หรือเดือน 9 ใต้ ขึ้น 15 ค่ำ จะมีงานนมัสการองค์พระธาตุทุกปี
พระธาตุสามดวง
เป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งใน อ.พาน ตั้งอยู่ในพื้นที่ระหว่างบ้านป่าหุ่ง
หมู่ที่ 1 กับบ้านศาลาเหมืองหิน หมู่ที่ 11 ต. ป่าหุ่ง อ. พาน อยู่ห่างจากที่ทำการ
อ. พาน ไปทางทิศตะวันตก ระยะทาง 12 กม. ภายในบริเวณวัดมีพระธาตุตั้งอยู่
3 องค์ แต่ละองค์ตั้งห่างกันประมาณ 100-200 เมตร และตั้งอยู่บนเนินสูงลดหลั่นกันลงไป
ตำนานเล่าว่า
พระธาตุสามดวงนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 1839 ต่อมาได้มีการบูรณะเมื่อปี
พ.ศ. 2476 โดยคณะศิษยานุศิษย์ของครูบาศีลธรรมกับครูบาไชยา เพื่อใช้เป็นที่อยู่ปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์
ในบริเวณพระธาตุสามดวงจะมองเห็นทิวทัศน์ของตัว อ.พาน ได้อย่างสวยงาม
น้ำตกถ้ำผาโขงและถ้ำน้ำลอด
ตั้งอยู่ที่บ้านปางเกาะทราย หมู่ที่ 6 ตำบลป่าหุ่ง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอพานประมาณ
15 กิโลเมตร โดยผ่านหลังที่ว่าการอำเภอพานไปทางทิศตะวันตก มีน้ำไหลใสสะอาดตลอดปี
ถ้ำผายาว
ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 8 ตำบลม่วงคำ จากถนนพหลโยธิน สายอำเภอพาน-พะเยา มีทางแยกตรงบ้านม่วงคำไปประมาณ
5 กม. เป็นถ้ำใหญ่ ปากถ้ำกว้างถึง 20 เมตร ลึก 520 เมตร
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่สรวย อำเภอพาน อำเภอเวียงป่าเป้า
จังหวัดเชียงราย อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอแม่ใจ อำเภอเมือง
จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 1,170 ตารางกิโลเมตร หรือ 731,250 ไร่
สภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงทอดตัวแนวเหนือ-ใต้ มีดอยหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด
ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นและป่าเต็งรังปะปนกัน มีสัตว์ป่าและนกหลายชนิด
การเดินทางใช้เส้นทางสายเชียงราย-พะเยา ไป 58 กิโลเมตร ถึงบ้านปูแกง
บริเวณ กม. ที่ 77 เลี้ยวขวาอีก 9 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ สถานที่ท่องเที่ยวซึ่งอยู่ใกล้ที่ทำการอุทยานฯได้แก่
น้ำตกปูแกง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย น้ำไหลจากภูเขาสูงสลับซับซ้อนก่อให้เกิดชั้นน้ำตกที่สวยงามถึง
9 ชั้น บริเวณน้ำตกมีการทับถมของหินปูนที่ปนมากับน้ำ ทำให้เกิดหินงอกหินย้อยมากมายบริเวณน้ำตก
อุทยานฯ มีสถานที่ตั้งแค้มป์และบริการเดินป่า สอบถาม โทร. 053-721683
เขตอำเภอเวียงป่าเป้า
เวียงกาหลง
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้าประมาณ 16 กิโลเมตร โดยแยกจากถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่
บริเวณบ้านแม่เจดีย์ไปทาง อ.วังเหนือ ประมาณ 3 กิโลเมตร ในบริเวณเวียงกาหลงนี้มีซากเตาทำเครื่องถ้วยชามอยู่หลายแห่ง
เรียกกันว่า เตากาหลง ลักษณะของเตาก่อด้วยอิฐในพื้นที่ราบเป็นรูปประทุนเหมือนกระดองเต่า
ขนาดเล็กวัดได้กว้างราว 2 เมตร ยาว 3 เมตร ขนาดใหญ่กว้าง 4-5 เมตร ยาว
7-9 เมตร มีทางเข้าด้านหน้าทางเดียว
บ่อน้ำร้อนโป่งเทวี
ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ กม.
ที่ 64-65 มีบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ 2 บ่อ ในบริเวณมีชาวบ้านนำไข่มาขายเพื่อให้นักท่องเที่ยวทดสอบต้มในบ่อน้ำร้อน
อุทยานแห่งชาติขุนแจ
เดินทางไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-เชียงราย (ทางหลวงหมายเลข 118) จะถึงที่ทำการอุทยานฯ
ซึ่งตั้งอยู่ริมทางบริเวณ กม. ที่ 55-56 ผู้ประสงค์จะเดินทางท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ
ตามเส้นทางเดินป่า ซึ่งผ่านน้ำตกและยอดดอยต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยคนนำทางและต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับค้างแรมมาเอง
โดยติดต่อทำหนังสือถึงอุทยานแห่งชาติขุนแจ ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า
เชียงราย 57260 ล่วงหน้าเป็นเวลา 15 วันก่อนเดินทาง
ล่องแก่งแม่กก ท่าตอน-เชียงราย
ท่
าตอนเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำกก เหนือขึ้นไปจากอำเภอฝาง 24 กิโลเมตร จากเชียงใหม่มีรถประจำทางออกจากประตูช้างเผือก
ไปลงที่ฝางใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง แล้วจะมีรถสองแถววิ่งประจำระหว่างฝางกับท่าตอน
ใช้เวลาประมาณ 30 นาที มีเรือหางยาวบริการถึงเชียงราย ออกจากท่าตอนเวลา
12.30 น. ถึงเชียงราย 16.30 น. และจากเชียงรายเวลา 10.30 น. ถึงท่าตอน
15.30 น. ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ค่าโดยสารคนละ 170 บาท เหมาลำ ลำละ
1,700 บาท จุประมาณ 8-10 คน
นอกจากนี้ยังมีบริการล่องแพตามลำน้ำกกจากท่าตอนไปเชียงรายใช้เวลา
3 วัน 2 คืน รายละเอียดติดต่อร้านชาวแพ (ทิพย์เทรเวล) 211 ม. 3 ต. ท่าตอน
อ. แม่อาย จ. เชียงใหม่ โทร. (053) 459312 หรือ (01) 981-1780 ที่ท่าตอนมีรีสอร์ทและเกสท์เฮ้าส์
4-5 แห่ง หรือจะพักที่ฝาง (22 กิโลเมตรจากท่าตอน) มีโรงแรมเล็กๆ ให้พักได้
จุดท่องเที่ยวทางน้ำ
(จากท่าตอนเชียงใหม่-ท่าเรือเชียงราย)
พระธาตุสบฝาง
(อำเภอฝาง) บ้านแม่สลัก (เขตแดนเชียงใหม่-เชียงราย) บ้านใหม่ (หมู่บ้านไทยใหญ่)
บ้านเมืองงาม (หมู่บ้านกะเหรี่ยง) บ้านจะคือ (หมู่บ้านมูเซอ) บ้านผามูบใหม่
(หมู่บ้านมูเซอใหม่) โป่งน้ำร้อนผาเคียว บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร (หมู่บ้านกะเหรี่ยงมีบริการนั่งช้าง)
และถ้ำพระ (อำเภอเมืองเชียงราย)
|