กำ
แพงเพชร ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย มีลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าเขา
มีภูเขาสลับซับซ้อน ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ มีที่ราบใหญ่ ภาคกลางมีลักษณะลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก
มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ ฟลูออไรท์ หินอ่อน และน้ำมันปิโตรเลียม
กำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าแก่ที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยไม่น้อยกว่า
700 ปี ตัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ยังปรากฏซากกำแพงเมืองเก่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโค้งไปตามรูปลำน้ำปิง
และยังมีซากของป้อมปราการที่แข็งแรงแสดงถึงความสำคัญในอดีต ที่จะต้องเป็นเมืองในระดับเมืองลูกหลวงและเมืองหน้าด่านมาก่อน
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งบอกว่า ก่อนมีเมืองกำแพง เพชร เคยมีเมืองเก่ามาก่อนนั้นแล้ว
2 เมือง คือ เมืองชากังราว ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิงกับเมืองนครชุม
ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองกำแพงเพชรเก่า กำแพงเพชรในปัจจุบัน
มีพื้นที่ 8,607.490 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดตากและสุโขทัย
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและพิษณุโลก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดตาก
ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ
อำเภอพรานกระต่าย
25 กิโลเมตร
อำเภอไทรงาม 43 กิโลเมตร
อำเภอคลองลาน 50 กิโลเมตร
อำเภอคลองขลุง 43 กิโลเมตร
อำเภอลานกระบือ 55 กิโลเมตร
|
อำเภอขาณุวรลักษบุรี
79 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอทรายทองพัฒนา 53 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอปางศิลาทอง 70 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอบึงสามัคคี 90 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร 35 กิโลเมตร
|
 |
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ
ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี
นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัดกำแพงเพชร รวมระยะทาง
358 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง |
 |
รถโดยสารประจำทาง
บริษัทขนส่ง
จำกัด เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ - กำแพงเพชร ทุกวัน รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ
ถนนกำแพงเพชร 2 โทร. 936-3660, 936-3666 |
ตัวเมืองกำแพงเพชรเก่า ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองปลิง และตำบลในเมือง มีกำแพงศิลาแลงชั้นเดียวสูงประมาณ
5 เมตร มีป้อม 10 ป้อม คูเมืองกว้าง 30 เมตร กำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือยาว
220 เมตร ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ยาว 540 เมตร ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือยาว
2,403 เมตร ทิศตะวันตกเฉียงใต้ยาว 2,150 เมตร มีประตูเมือง 10 ประตู ภายในกำแพงเพชร
และบริเวณใกล้เคียงมีโบราณสถานที่น่าชมหลายแห่ง
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชรไปประมาณ 5
กิโลเมตร ตามถนนสายกำแพงเพชร - พรานกระต่าย แล้วเลี้ยวซ้ายตรงกิโลเมตรที่
360 อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นศาสนสถานเป็นส่วนมาก
เช่น วัดพระแก้ว วัดพระสี่อิริยาบถ วัดช้างล้อม ซึ่งนักท่องเที่ยวจะพบเทคโนโลยี่ในการสร้างสมัยโบราณ
เช่น การใช้เสาศิลาแลงเป็นเสาค้ำอาคาร โดยเสาแต่ละต้นถูกสกัดขึ้นมาจากศิลาแลงใต้ดิน
มีน้ำหนักต้นละไม่ต่ำกว่า 30 ตัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่
18 เมษายน 2534 ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 40 บาท
วัดพระแก้ว ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์
ที่จังหวัดอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย กำแพงวัดเป็นศิลาแลงกลมทั้งท่อนสูงประมาณเมตรเศษแผนผังของวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับกำแพงเพชร
กำแพงวัดขาดเป็นตอน ๆ สิ่งก่อสร้างภายในใช้ศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ ตรงกลางของวัดมีพระเจดีย์กลมแบบลังกาองค์ใหญ่เป็นประธาน
ฐานสี่เหลี่ยม ที่ฐานทำเป็นซุ้มคูหาโดยรอบมีสิงห์ยืนอยู่ในคูหา แต่ชำรุดหมด
วัดพระแก้วนี้หลังจากขุดแต่งแล้วปรากฏว่า พบฐานเจดีย์แบบต่าง ๆ กัน รวม
35 ฐาน วิหารใหญ่และเล็ก 8 วิหาร ฐานโบสถ์ 3 แห่ง ซึ่งแสดงว่าเป็นวัดใหญ่
และสำคัญมากมาก่อน ปัจจุบันงานนบพระเล่นเพลง และงานวันสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร
ก็จัดให้มีขึ้นในบริเวณวัดพระแก้วแห่งนี้
วัดพระธาตุ อยู่ที่ตำบลนครชุมเป็นวัดใหญ่รองจากวัดพระแก้วที่อยู่ในกำแพงเมืองกำแพงเพชรรูปทรงเป็นแบบพม่า
เรียงจากวัดพระแก้วไปทางทิศตะวันออก มีเจดีย์ประธานก่อด้วยศิลาแลงปนอิฐฐานสี่เหลี่ยมกว้าง
15 เมตร วัดนี้ภายหลังจากการขุดแต่งและบูรณะเจดีย์ใหญ่ เจดีย์รวมด้านใต้แล้ว
ปรากฏว่ามีลักษณะคล้ายแผนผังของวัดสระศรี ที่เมืองสุโขทัยเก่า แต่ลักษณะเจดีย์เป็นแบบกำแพงเพชร
สระมน หรือบริเวณวังโบราณ ด้านเหนือวัดพระแก้วมีกำแพงดินสี่เหลี่ยมอยู่เกือบติดกำแพงเมืองด้านเหนือ
ภายในกำแพงมีคูล้อม 3 ด้าน ตรงกลางขุดสระมน เป็นที่เข้าใจว่าบริเวณสระมนนี้เป็นวัง
ส่วนปราสาทราชฐานไม่มีเหลืออยู่เลย เมื่อขุดลอกสระแล้วตกแต่งบริเวณ พบฐานศิลาแลงบางตอน
และได้พบกระเบื้องมุงหลังคาตกหล่นอยู่ทั่วไป
ที่ทำการหน่วยศิลปากรประจำจังหวัด ตั้งอยู่เลยวัดพระแก้วไปตามเส้นทางกำแพงเพชร
- พรานกระต่าย มีทางลูกรังแยกเข้าไปทางซ้ายมือ ตรงประตูสะพานโคมประมาณ
300 เมตรเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการบูรณะขุดแต่งอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ตั้งอยู่ที่ถนนปิ่นดำริห์
อ.เมือง เป็นที่แสดงโบราณวัตถุและศิลปะวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่ขุดค้นพบในเมืองกำแพงเพชร
และที่มีผู้มอบให้เพื่อเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โบราณวัตถุส่วนมากเป็นลวดลายปูนปั้นและลวดลายดินเผา
เศียรพระพุทธรูป เครื่องสังคโลก ปูนปั้นรูปยักษ์เทวดา และมนุษย์ซึ่งใช้ประดับฐานเจดีย์
หรือติดตั้งวิหาร ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ในเวลาราชการทุกวัน เว้นวันจันทร์
วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชมชาวไทย
10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาทสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร. (055)
711570
พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ เป็นสถานที่แสดงผลงานของศูนย์บริรักษ์ไทยและศูนย์จริยศึกษา
จำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองของจังหวัด ผลิตภัณฑ์ชาวเขาและกลุ่มแม่บ้าน
ภายในตัวอาคารจัดเป็นห้องโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัยประกอบด้วยระบบภาพแสงและเสียง
ในระบบมัลติมีเดีย การแสดงนิทรรศการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. (055) 722341-2
ศาลพระอิศวร ตั้งอยู่ด้านหลังศาลจังหวัด เป็นฐานก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมยกพื้นสูง
1.5 เมตร มีบันไดขึ้นด้านหน้า บนฐานชุกชีอยู่เป็นที่ตั้งของเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์
ซึ่งจำลองขึ้นในสมัยที่นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เทวรูปพระอิศวรองค์จริงปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
รูปพระอิศวรนี้ ในสมัยรัชการที่ 5 ชาวเยอรมันมาเที่ยวเมืองกำแพงเพชร ได้ลักลอบตัดเศียรและพระหัตถ์ส่งลงเรือมากรุงเทพฯ
เมื่อ พ.ศ. 2429 เจ้าเมืองกำแพงเพชรได้บอกเข้ามายังกรุงเทพฯจึงโปรดฯ ให้ขอพระเศียรและพระหัตถ์คืน
และได้ทรงสร้างพระอิศวรจำลองประทานให้ ซึ่งปัจจุบันตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน
วัดป่ามืด ออกนอกกำแพงเมืองตรงประตูสะพานโคมด้านทิศเหนือไปตามถนนกำแพงเพชร-พรานกระต่าย
ประมาณ 300 เมตร ตามถนนเดิมจะพบวัดอยู่ทางซ้ายมือ เรียกว่าวัดป่ามืด วัดนี้ยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ
พื้นที่ทั่ว ๆ ไปยังเป็นป่าปกคลุมอยู่ โบราณสถานมีเจดีย์กลมแบบลังกา ด้านหน้าเป็นฐานเจดีย์ราย
4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบต่อจากกำแพงด้านหน้าเป็นโบราณสถานอีกหมู่หนึ่ง
มีฐานเจดีย์และฐานวิหารและเจดีย์รอบอีก 7 ฐาน มีกำแพงรอบเช่นเดียวกัน
วัดพระนอน อยู่ห่างจากวัดป่ามืดไปทางเหนือประมาณ 150 เมตร
เป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งซึ่งได้ขุดแต่งและบูรณะไว้แล้ว วัดนี้มีกำแพงศิลาแลงปักตั้งล้อมไว้ทั้ง
4 ด้าน ด้านหน้าวัดตรงขวามือมีบ่อน้ำสี่เหลี่ยมมีน้ำขังข้าง ๆ บ่อ มีห้องอาบน้ำและศาลาน้ำ
ฐานและเสาเป็นศิลาแลง ซึ่งเสานี้ตัดมาจากแหล่งกำเนิดทั้งแท่ง มีขนาดกว้าง
1.1 เมตร ยาว 1.1 เมตร สูง 6.4 เมตร นับว่าเป็นศิลาแลงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ด้านซ้ายมือเมื่อเดินไปตามทางขึ้นบริเวณลานวัดที่ปูด้วยศิลาแลงถึงหน้าประตูวัด
จะพบเศษรูปสิงห์ปูนปั้นซึ่งขุดค้นได้วางอยู่หน้าโบสถ์ ฐานโบสถ์เป็นศิลาแลงยกพื้นสูง
80 เซ็นติเมตร มีบันไดขึ้นโบสถ์ด้านหน้าด้านหลังด้านละ 2 บันได ฐานกว้าง
14 เมตร ยาว 30 เมตร มีมุขเด็จทั้งด้านหน้าด้านหลัง มีเสา 4 แถว 5 ห้อง
2 แถว 2 ห้อง เสาโบสถ์ทำด้วยศิลาแลงแท่งใหญ่รูป 8 เหลี่ยม เสมาที่เหลืออยู่สลักเป็นรูปเทพพนมและอื่น
ๆ ประกอบลวดลายสวยงาม ด้านหลังโบสถ์เป็นวิหารพระนอนรูปสี่เหลี่ยมกว้าง
25 เมตร มีเสา 6 แถว 6 ห้อง ผนังเจาะเป็นช่องลูกกรงยาว ๆ เสาวิหารรูปสี่เหลี่ยมทั้งแท่งขนาดกว้างเมตรเศษ
ยาว 4-5 เมตร เป็นของใหญ่โตที่หาดูได้ยากแห่งหนึ่ง
วัดพระสี่อิริยาบถ อยู่ต่อจากวัดพระนอนไปทางทิศเหนือในแนวกำแพงวัด
ติดต่อกันถึงวัดพระสี่อิริยาบถ หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่าวัดพระยืน วัดนี้มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำอยู่หน้าวัดเช่นเดียวกับวัดพระนอน
กำแพงวัดเป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม 4 ด้าน มีทางเข้าปูด้วยศิลาแลง มีศาลาโถงปลูกคร่อมทางเดินเป็นศาลากว้าง
6 เมตร ยาว 11 เมตร เป็นเสา 4 แถว 5 ห้อง ต่อจากศาลาหน้าวัดมีประตูเข้าไปในบริเวณวัดแล้วถึงฐานศิลาแลงใหญ่
ยกฐานสูงประมาณ 2 เมตร มีเสาลูกกรงเป็นศิลาแลงเหลี่ยมและมีทับหลังลูกกรงเตี้ย
ๆ สูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร อยู่โดยรอบ ฐานนี้มีบันไดขึ้นด้านหน้า 2 บันได
ด้านข้าง 2 บันได และด้านหลังอีก 2 บันได บนฐานวิหารกว้าง 17 เมตร ยาว
29 เมตร ย่อมุขเด็จทั้งหน้าและหลัง เสาวิหารที่อยู่บนฐานเป็นเสา 4 แถว
5 ห้อง 2 แถว หน้าและหลัง 2 ห้อง รวม 7 ห้อง ที่ฐานชุกชี มีรอยตั้งพระพุทธรูปนั่งด้านหลังวิหารมีบันไดลงติดต่อกับมณฑปพระอิริยาบถ
โดยรอบมณฑปกำแพงแก้วเตี้ย ๆ เหลือแต่ฐาน มีประตูเข้าด้านข้าง 2 ข้าง และด้านหลังมณฑปกว้าง
29 เมตร เป็นมณฑปสี่หน้า ด้านหน้ามีพระพุทธรูปลีลา ด้านข้างเหนือมีพระพุทธรูปนั่ง
พระพุทธรูปปูนปั้นทั้ง 3 ด้าน ที่กล่าวมาแล้วชำรุดเหลือซากพอเป็นรอยให้ดูรู้ว่าเป็นพระพุทธรูปเท่านั้น
แต่ก็เป็นหลักฐานที่แสดงให้รู้ว่า เป็นพระพุทธศิลปะแบบสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร
ซึ่งหาดูได้ยาก
วัดพระสิงห์ ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ
100 เมตร จะพบวัดพระสิงห์ซึ่งเป็นวัดขนาดย่อมยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ
สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือ สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา กำแพงเป็นศิลาแลงโดยรอบ
ภายในเป็นฐานเจดีย์มีซุ้มพระ 4 ทิศ ฐานเจดีย์กว้าง 11 เมตร สี่เหลี่ยม
มีเจดีย์ราย 4 มุม ด้านหน้าเจดีย์ใหญ่มีฐานโบสถ์กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร
ตั้งอยู่บนฐานอีกชั้นหนึ่งซึ่งกว้าง 23 เมตร ยาว 42 เมตร ด้านทิศใต้มีฐานวิหารใหญ่
1 วิหาร และขนาดย่อมอีก 1 วิหาร ภายในวัดมีบ่อน้ำ 2 บ่อ เป็นบ่อกรุด้วยศิลาแลง
วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง
มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลาน ฐานเจดีย์กว้าง 31เมตร สี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่
2 ขาหน้า หันศีรษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่องจำนวน 68 เชือก
ระหว่างช้างมีลายปูนปั้นเป็นรูปใบโพธิ์ กับมีรอยตั้งรูปยักษ์และนางรำติดอยู่แต่ชำรุดหักเห็นไม่สมบูรณ์
ทางขึ้นไปบนฐานทักษิณมีบันไดสี่ด้าน ตรงเชิงบันไดมีรูปสิงห์หักอยู่ที่ฐาน
ฐานเจดีย์จากพื้นดินถึงลานทักษิณชั้นบนสูงประมาณ 7 เมตร กลางลานมีเจดีย์ฐานเขียงแปดเหลี่ยมฐานกว้างประมาณ
20 เมตร ลักษณะเป็นเจดีย์แบบลังกายอดหัก ด้านหน้าฐานเจดีย์เป็นวิหารใหญ่
กว้าง 17 เมตร ยาว 34 เมตร ฐานสูงประมาณ 1.5 เมตร วิหารเป็นเสา 4 แถว 7
ห้อง มีมุขเด็จข้างหน้าหนึ่งห้อง ต่อจากวิหารใหญ่เป็นสระซึ่งขุดลงไปในพื้นศิลาแลง
กว้าง 23 เมตร สี่เหลี่ยมลึกประมาณ 8 เมตร มีน้ำขังอยู่บางฤดูจากการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์วัดช้างรอบนี้ได้พบบรรดาลวดลายต่าง
ๆ เป็นดินเผารูปนางรำ รูปยักษ์ รูปหงส์ รูปหน้าเทวดา และหน้ามนุษย์ ซึ่งตามลักษณะโบราณวัตถุเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น
หรือสุโขทัยตอนปลายทำให้ทราบลักษณะเครื่องแต่งตัว การฟ้อนรำ และลักษณะอื่นๆ
ของคนสมัยสุโขทัยตอนปลาย ซึ่งเป็นประโยชน์ ในการศึกษาศิลปะและโบราณคดี
บรรดาโบราณวัตถุที่พบนี้ บางชิ้นเก็บรวบรวมตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
วัดอาวาสใหญ่ เป็นวัดที่ก่อสร้างใหญ่โต มีเจดีย์และวิหารมาก
อยู่ริมถนนไปอำเภอพรานกระต่าย ห่างจากประตูโคมไฟไปทางเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร
กำแพงวัดเป็นศิลาแลง กลางวัดมีฐานพระเจดีย์แปดเหลี่ยมใหญ่กว้างด้านละ 16
เมตร ด้านหน้าวัดอาวาสใหญ่ ริมถนนมีบ่อสี่เหลี่ยมใหญ่ขุดลงไปในพื้นศิลาแลง
กว้าง 9 เมตร ยาว 17 เมตร ลึก 7-8 เมตร เรียกว่า "บ่อสามแสน" และตรงด้านหน้าเจดีย์ประธานด้านทิศเหนือ
มีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีฐานวิหารทั้งใหญ่และเล็กรวม
10 วิหาร ฐานเจดีย์รวม 9 ฐาน วัดนี้อยู่ริมถนนสะดวกในการเข้าชม
กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน
ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย จะเห็นกำแพงศิลาแลงเป็นป้อม มีใบเสมาเหลืออยู่
ป้อมก่อด้วยศิลาแลงกว้าง 83.5 เมตร รูปสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 6 เมตร มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม
4 ด้าน ทางด้านในมีเชิงเทินพอเดินหลีกกันได้ ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อต่อกันได้
ตรงมุมมีป้อมยื่นออก 4 มุม มีรูมองอยู่ติดกับพื้น การก่อสร้างป้อมนี้มีความมั่นคงมาก
แต่ด้านทิศเหนือถูกรื้อออกเสียด้านหนึ่ง จึงเหลือเพียง 3 ด้าน บริเวณนี้มีวัดเก่าแก่หลายวัด
เช่น วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหนองลังกา เป็นต้น ที่สำคัญต่อนักเลงพระก็คือ
เป็นบริเวณที่พบพระเครื่องลือชื่อของเมืองกำแพงเพชร เช่น พระซุ้มกอ ลีลาเม็ดขนุน
ทุ่งเศรษฐี หรือกำแพงเขย่ง เป็นต้น
เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง
กำแพงเมืองเป็นมูลดินสูง 2-3 เมตร รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวไปตามแม่น้ำปิง
จากตะวันออกไปตะวันตก ภายในกำแพงเมืองมีวัดเก่าแก่อยู่ 2-3 วัด
วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดอยู่ริมแม่น้ำปิง ฝั่งตะวันตกกลางเมืองนครชุมมีเจดีย์แบบพม่าอยู่
1 องค์ ด้านใต้มีพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และอยุธยาอยู่หลายองค์
วัดนี้สันนิษฐานว่า เดิมคงเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อย่างศิลปะสุโขทัย
แต่ปัจจุบันเป็นเจดีย์แบบพม่า เนื่องจากเศรษฐีพม่าผู้หนึ่งได้มาบูรณะไว้เมื่อประมาณ
100 ปี มาแล้ว
เมืองไตรตรึงส์ ตั้งอยู่ที่ตำบลไตรตรึงส์ เป็นเมืองเก่าแก่
สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยสิริกษัตริย์เชียงราย ซึ่งได้หนีข้าศึกจากเชียงรายลงมาสร้างเมืองนี้ขึ้น
เมื่อ พ.ศ. 1542 ปัจจุบันโบราณสถานต่าง ๆ ทรุดโทรมลงมาก เหลือเพียงซากเจดีย์และเชิงเทินเท่านั้น
การเดินทางใช้เส้นทางสายกำแพงเพชร - คลองลาน ไปประมาณ 18 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ
นอกจากจังหวัดกำแพงเพชรจะมีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อยู่มากมายแล้ว
ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
ที่สวยงามน่าประทับใจไม่แพ้จังหวัดอื่นอยู่หลายแห่งด้วยกันคือ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลาน ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองลานพัฒนา
ตำบลคลองน้ำไหล และตำบลโป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน มีเนื้อที่ 187,500 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่
25 ธันวาคม 2525 อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 58 กิโลเมตร การเดินทางจากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข
1116 ผ่านสถานีขนส่งและกำแพงป้อมทุ่งเศรษฐีไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1
พอถึงหลักกิโลเมตรที่ 346 ที่บ้านคลองแม่ลาย (ห่างจากตัวเมืองราว 10 กิโลเมตร)
เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1117 ทางที่จะไปอำเภอคลองลานไปถึง 36 กิโลเมตร
จะถึงตลาดคลองลานแล้วเลี้ยวขวาไป 6 กิโลเมตร ก็จะถึงอุทยานแห่งชาติคลองลาน
หรืออีกเส้นทางหนึ่งจากกรุงเทพฯ เดินทางโดยรถยนต์ตามถนนสายเอเซียผ่านจังหวัดนครสวรรค์ไปประมาณ
17 กิโลเมตร ถึงบ้านหนองเบน จะมีทางแยกซ้ายเข้า อ.ลาดยาว จากนั้นเดินทางตามเส้นทาง
ลาดยาว-คลองลาน (ทางหลวงหมายเลข 1072) ระยะทาง 102 กิโลเมตร แยกเข้าน้ำตกและเดินทางต่อเข้าอุทยานแห่งชาติคลองลาน
4 กิโลเมตร ภายในอุทยานแห่งชาติคลองลานมีสิ่งน่าสนใจหลายอย่าง อาทิ
น้ำตกคลองลาน เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ไหลลงมาจากหน้าผาสูง 95 เมตร กว้าง
40 เมตร และด้านล่างของน้ำตกเป็นแหล่งน้ำที่ลงเล่นน้ำได้ เหมาะสำหรับไปพักผ่อนหย่อนใจ
อยู่ห่างจากตลาดคลองลาน 10 กิโลเมตร
น้ำตกคลองน้ำไหล (น้ำตกปางควาย) อยู่ห่างจากน้ำตกคลองลานประมาณ
16 กิโลเมตร การเดินทางจากทางหลวงหมายเลข 1117 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 35-36
บริเวณอุทยานแห่งชาติคลองลาน จะมีป้ายบอกทางเข้าอีก 10 กิโลเมตร น้ำตกคลองน้ำไหลเป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร
มีน้ำไหลลดหลั่นลงมาถึง 9 ชั้น ตลอดปี และแต่ละชั้นมีแอ่งน้ำลงไปเล่นได้อีกด้วย
และ
แก่งเกาะร้อย ที่มองดูคล้ายมีเกาะเล็กเกาะน้อยอยู่กลางลำธาร การเดินทางจากทางหลวงหมายเลข
1117 เมื่อถึงสามแยกโป่งน้ำร้อนจะมีทางราดยางแยกเข้าไปเป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร
นักท่องเที่ยวสามารถพักค้างแรมได้ที่อุทยานแห่งชาติคลองลาน โดยติดต่อที่กองอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้
โทร. 579-7223, 579-5734 หรือที่ อุทยานแห่งชาติคลองลาน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร
62180 ฤดูที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวคือระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ป่าแม่วงก์เป็นรอยต่อของสองจังหวัดคือ
กำแพงเพชร และนครสวรรค์ ส่วนที่อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์เรียกว่า ป่าแม่วงก์-แม่เปิน
ส่วนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชรเรียกว่า ป่าคลองแม่วงก์-ป่าคลองขลุง ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 ใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติแม่วงก์" มีเนื้อที่ประมาณ
894 ตารางกิโลเมตร ในเขตท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร พื้นที่อุทยานประกอบด้วยป่าชนิดต่าง
ๆ คือ ป่าเบญจพรรณ ประมาณ 70% ป่าดงดิบ 25% และป่าเต็งรังประมาณ 5% ของพื้นที่
นอกจากนี้ยังมีไม้มีค่าทางเศรษฐกิจอีกมากมาย เช่น ไม้สัก มะค่าโมง ประดู่
ฯลฯ สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ
แก่งผานางคอย เป็นแก่งหินของลำห้วยคลองขลุง
ที่ไหลเรื่อยจนกลายเป็นน้ำตก 4 ชั้น อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 800 เมตร
มีทางเดินศึกษาธรรมชาติที่จัดไว้ เหมาะสำหรับกางเต็นท์และศึกษาสภาพป่า
บ่อน้ำอุ่น เป็นบ่อน้ำที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดินตามธรรมชาติ
มีอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส อยู่ห่างจากที่ทำการ 1.5 กิโลเมตร
จุดชมวิว ตลอดเส้นทางสายคลองลาน-อุ้มผาง ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 57
ถึงกิโลเมตรที่ 117 มีจุดชมวิวหลายแห่ง ได้แก่ กิโลเมตรที่ 81, 87, 92,
102 และ 115 โดยเฉพาะกิโลเมตรที่ 102 มีน้ำตกริมทางที่สวยงาม
น้ำตกแม่กระสา มีความสูง 900 เมตร มีชั้นลดหลั่นถึง 9 ชั้น อยู่ห่างจากที่ทำการ
18 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง
น้ำตกแม่รีวา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นที่ 3 มีความสูงที่สุดประมาณ
100 เมตร มีสภาพสวยงาม ห่างจากที่ทำการอุทยาน 21 กิโลเมตร
นอกจากนั้น ยังมี น้ำตกแม่กี,
น้ำตกแม่วงก์ เป็นน้ำตกบริเวณเดียวกับน้ำตกแม่กระสา และน้ำตกแม่เรวา
มีความสูงประมาณ 200
เมตร แบ่งเป็นชั้น ๆ ถึง 9 ชั้น น้ำไหลเกือบตลอดปี ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ
10 ชั่วโมง และได้ชื่อว่าเป็นน้ำตกที่สวยงามมาก น้ำตกเขาโบสถ์, น้ำตกแม่กระสี
เป็นน้ำตกในเขตอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ยังไม่ได้มีการสำรวจทางภาคพื้นดิน
ยอดเขาโมโกจู เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ มีความสูง
1,950 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง อยู่ห่างจากอุทยานแห่งชาติ 30 กิโลเมตร
สิ่งอำนวยความสะดวก บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีบ้านพักพร้อมเครื่องนอนสำหรับบริการนักท่องเที่ยว
6 หลัง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 45-50 คน ถ้าหากมีความประสงค์จะเข้าพักล่วงหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์จะต้องเตรียมอาหารมาเอง
สำรองที่พักล่วงหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ถนนคลองลาน-อุ้มผาง กิโลเมตร
65 อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร 62180 หรือที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร.
579-7223 หรือ 579-5734
การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับการเดินทางไปอุทยานแห่งชาติคลองลาน ไปตามเส้นทางคลองลาน-อุ้มผาง
ถึงจุดแยกเข้าอุทยานแห่งชาติให้ตรงไปอีก 19 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยาน
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง อยู่ในเขตท้องที่ตำบลโกสัมพี
อำเภอเมือง ใช้เส้นทางเริ่มจากตัวจังหวัดกำแพงเพชร กิโลเมตรที่ 358 ถนนสายกำแพงเพชร-ตาก
ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 380 เลี้ยวซ้ายไปตามถนนประมาณ 7 กิโลเมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียงนี้
เป็นทิวเขาที่เชื่อมต่อกับเขาสนามเพรียง เขาคันนาและเขากิ่วยาว มีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ
400-700 เมตร จากระดับน้ำทะเลและจุดสูงสุด 867 เมตร นักท่องเที่ยวสามารถชื่นชมความงามของสภาพธรรมชาติแบบป่าเมืองหนาว
ซึ่งมีต้นสนสองใบ และสนสามใบขึ้นอยู่ทั่วไป
น้ำตกวังชมภู เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีน้ำไหลในฤดูฝน ห่างจากตัวเมืองประมาณ
30 กิโลเมตร บนเส้นทางช่วงกำแพงเพชร-ตาก
บ่อน้ำร้อนบึงสาบ ตั้งอยู่ที่บ้านลานหิน ตำบลลานดอกไม้
อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นแอ่งน้ำร้อนที่ไม่มีกลิ่นเหม็นของกำมะถัน
น้ำพุธรรมชาติสระตาพรม ตั้งอยู่ที่ตำบลดอนแตง อำเภอขาณุวรลักษบุรี
บนถนนสายกำแพงเพชร-นครสวรรค์ ตรงหลักกิโลเมตรที่ 292 อยู่ด้านซ้ายมือ มีลักษณะเป็นน้ำพุธรรมชาติพุ่งขึ้นจากผิวน้ำในสระสูงประมาณ
2 เมตร สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน จากถนนซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หาไม่ได้ง่ายนักในประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งขึ้นใหม่
อยู่ในเขตตำบลโกสัมพีห่างจากตัวเมือง 70 กิโลเมตร มีสภาพธรรมชาติ ป่าไม้
ภูเขา น้ำตกที่สวยงามหลายแห่งนอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านกะเหรี่ยงด้วย
สถานที่น่าสนใจอื่น ๆ
สิริจิตอุทยาน เป็นสวนสาธารณะเอนกประสงค์ริมฝั่งแม่น้ำปิง
ตรงข้ามโรงแรมชากังราว มีเนื้อที่ 170 ไร่ มีสนามกีฬาประเภทต่าง ๆ และสวนไม้ดอกไม้ประดับปลูกไว้สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ
นอกจากนี้ภายในอุทยานฯ ใกล้กับศูนย์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร
ยังมีศูนย์สินค้าพื้นเมืองและหัตถกรรมหรือไนท์บาซา เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา
08.00 - 22.00 น. ซึ่งผู้ไปเยือนไม่ควรพลาดโอกาสซื้อของฝาก ของที่ระลึกไปกำนัลแด่ญาติสนิทมิตรสหายเป็นอย่างยิ่ง
หอไตรวัดคูยาง ตั้งอยู่ที่วัดคูยางภายในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
เป็นสถาปัตยกรรมสมัย รัตนโกสินทร์ มีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เสด็จประภาสต้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิ่งที่หอไตรนี้ต่างจากที่อื่น ๆ คือ ได้สร้างไว้กลางน้ำและมีใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันปลวกแมลงสาบและหนูเข้าไปกัดทำลายพระไตรปิฎกหนังสือและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
ปัจจุบันหอไตรหลังนี้ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม อำเภอเมือง
กำแพงเพชร เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงเกือบ
3 เมตร มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่ง เป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ
วัดช้างหรือวัดนาควัชระโสภณ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งซึ่งปัจจุบันเป็นสำนักวิปัสนาของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติ
มีชื่อเสียงที่เป็นต้นพิมพ์พระซุ้มกอ (ใหม่) ซึ่งปัจจุบันจะหามาบูชาได้ยาก
หมู่บ้านเกษตรกรรมในเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์
ตั้งอยู่ที่บ้านโคน ตำบลคณฑี อำเภอเมือง กำแพงเพชร เป็นหมู่บ้านการเกษตรแบบครบวงจรและใช้เทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการเกษตร
เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมความชื้นในดินและสั่งงานการรดน้ำด้วยสปริงเกอร์ขนาดยักษ์โดยอัตโนมัติ
เป็นต้น
บ้านไม้สักเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ถนนเทศาในเขตเทศบาลเมือง
เป็นสมบัติของตระกูลล่ำซำ คหบดีชาวกำแพงเพชร เป็นอาคารสองชั้นสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง
แม้เสาก็เป็นเสาสูงตลอดทั้งสองชั้น หน้ามุขประดับด้วยไม้ฉลุ มีความสวยงามมาก
เหมืองหินอ่อนพรานกระต่าย ตั้งอยู่ในอำเภอพรานกระต่าย
มีเนื้อที่สัมปทาน 22 ไร่เศษ ดำเนินงานมาตั้งแต่ 5 ตุลาคม 2526 หินอ่อนที่ผลิตได้ในแหล่งนี้มีสีชมพู
สีงาช้าง สีขาว และสีเทา
แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่อำเภอลานกระบือ เป็นสัมปทานของบริษัทไทยเชลล์เอ็กซ์พลอเรชันแอนด์โปรดักชั่น
เข้ามาทำการขุดเจาะน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยมีการผลิตในเชิงพานิชย์ตั้งแต่ปี
2525 เรียกน้ำมันดิบที่ขุดได้จากแหล่งนี้ว่า "น้ำมันดิบเพชร" และเป็นที่มาของคำว่า
"โชติช่วงชัชวาล" เพราะเป็นความหวังแรกของขุมพลังงานของไทย
ศูนย์หัตถกรรมชาวเขาคลองลาน ศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขาเผ่าต่าง
ๆ อันได้แก่ เผ่าม้ง เย้า ลีซอ มูเซอ และกะเหรี่ยง ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอคลองลานและอำเภอขลุง
มีรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่แหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอคลองลาน
โดยนำสินค้าของที่ระลึก และผลิตภัณฑ์ของแต่ละเผ่ามาจำหน่าย เช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวเขา
เครื่องประดับประเภทต่างๆ ที่ทำจากเงิน มีการสาธิตการทำเครื่องประดับจากเงินให้นักท่องเที่ยวได้ชมด้วย
ศูนย์นี้อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์พัฒนา และสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร
ตั้งอยู่หมู่บ้านบ้านคลองลาน ตำบลคลองลานพัฒนา บริเวณปากทางเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลาน
ห่างจากตัวจังหวัดกำแพงเพชร 55 กิโลเมตร
ตลาดกล้วยไข่ ตั้งอยู่ริมทางสายกำแพงเพชร-นครสวรรค์
ตรงกิโลเมตรที่ 343 มีเพิงขายกล้วยไข่ทั้งดิบและสุก กล้วยฉาบ และสินค้าพื้นเมืองอื่น
ๆ เป็นระยะทางยาวประมาณ 200 เมตร
จังหวัดกำแพงเพชรมีงานประเพณีประจำปี ซึ่งเป็นที่รู้จักและสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดคือ
งานนบพระ-เล่นเพลง งานนี้จัดขึ้นในระหว่างวันมาฆบูชาหรือวันเพ็ญเดือนสาม
ซึ่งจะเป็นช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการฟื้นฟูงานประเพณีดั้งเดิมตามหลักฐานในศิลาจารึกเมืองพระชุม
หรือเมืองนครชุม ซึ่งกล่าวถึงการจัดขบวนแห่ไปนบพระมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย
ลักษณะการจัดงานในปัจจุบันจะมีการตกแต่งริ้วขบวนอย่างสวยงาม โดยมีผู้เข้าร่วมขบวนแต่งการแบบโบราณ
แล้วเคลื่อนขบวนข้ามแม่น้ำปิงไปนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ที่ฝั่งนครชุมมีการแสดงมหรสพ
ศิลปวัฒนธรรมไทย และการออกร้านของส่วนราชการ
งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง เป็นการจัดงานเฉลิมฉลองวันสารทไทยในวันขึ้น
15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ ของเดือนกันยายนทุกปี และมีจุดมุ่งหมายที่จะเผยแพร่กล้วยไข่ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัด
ในงานนี้จะมีการประกวดและจำหน่ายกล้วยไข่ การแข่งขันกวนกระยาสารท งานนิทรรศการทางการเกษตร
การออกร้านจำหน่ายสินค้าและการแสดงมหรสพต่าง ๆ
ส่วนมากนั้นเป็นของกินโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากพืชไร่ พืชสวน อาทิ กล้วยไข่
กระยาสารท เผือกฉาบ มันฉาบ สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถซื้อสินค้าต่าง
ๆ ได้ตามร้านค้าดังนี้
กำแพงเพชรหัตถกรรมหินอ่อน ถ.กำแพงเพชร-สุโขทัย ต.พานกระต่าย โทร.
761-338
เจ๊ม่วย ถ.ราชดำเนิน
ต.ในเมือง อ.เมือง ตลาดจำหน่ายกล้วไข่ ถ.สายเอเซีย ต.อ่างทอง อ.เมือง
ป้าหาด ถ.ราชดำเนิน
ต.ในเมือง อ.เมือง
แม่อำไพ ตลาดนครชุม
ต.นครชุม อ.เมือง
ศูนย์จำหน่ายหัตถกรรมพื้นบ้านและชาวเขา
หมู่บ้านชาวเขาเพื่อการท่องเที่ยว
ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน
ศูนย์จำหน่ายหัตถกรรมเครื่องเงินชาวเขา
บ้านคลองเตย อ.คลองลาน
ศูนย์บริรักษ์ไทยตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน
จ.กำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ โทร. 722-341-2
หัตถกรรมหินอ่อนบ้านพราน
ถ.กำแพงเพชร-สุโขทัย อ.พานกระต่าย โทร.761-010 , 761-080
สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร โทร. (055) 711344
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 193 ถ.ตากสิน ต.หนองหลวง
อ.เมือง จ.ตาก 63000 โทร. (055) 514341-3 โทรสาร (055) 514344 พื้นที่รับผิดชอบ
: ตาก พิจิตร กำแพงเพชร
|