ข
อนแก่น เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ตรงกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรากฏหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์
และมนุษยวิทยา ว่าอาณาเขตจังหวัดขอนแก่นเคยเป็นดินแดนที่มีผู้คนอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่เจริญรุ่งเรือง
มีอารยธรรมสูงส่งมาก่อนสมัยประวัติศาสตร์และคาบเกี่ยวกับสมัยประวัติศาสตร์
ทำให้ขอนแก่นเป็นเมืองที่มีมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติโบราณมากมาย ดังปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
เช่น ภาพเขียนสีที่ถ้ำฝ่ามือแดง อำเภอภูเวียง เมืองโบราณสมัยทวาราวดีที่อำเภอชุมแพ
เสมาหินที่เมืองชัยวาน อำเภอมัญจาคีรีและศาสนสถานสมัยขอมที่อำเภอเปือยน้อย
จัดเป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในจังหวัดขอนแก่นและอยู่ในสภาพสมบูรณ์มาก
ปัจจุบันขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยว ทั้งทางธรรมชาติและโบราณสถานมากมาย
มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา คือ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
มีวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ มีผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน
เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ที่อำเภอชนบท นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและสะดวกในการคมนาคมตลอดปี
ทิศเหนือ จดจังหวัดอุดร
หนองบัวลำภู และเลย
ทิศใต้ จดจังหวัดนครราชสีมา
และจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก จดจังหวัดกาฬสินธุ์
และจังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก จดจังหวัดเพชรบูรณ์
และจังหวัดชัยภูมิ
การคมนาคมในเมือง
จะมีรถสามล้อเครื่องและสามล้อถีบวิ่งบริการภายในตัวเมืองและเขตเทศบาล
ค่าโดยสารประมาณ 5-10 บาท ตามระยะทาง และมีรถประจำทางขนาดเล็กวิ่งรับ-ส่งผู้โดยสารในตัวเมือง
รวมทั้งสิ้น 14 สาย ค่าโดยสาร 3 บาทตลอดสาย นอกจากนั้นยังมีรถโดยวิ่งประจำทาง
ระหว่างอำเภอเมืองขอนแก่นไปยังอำเภอต่างๆ และไปยังบางจังหวัดในภาคอีสานและภาคเหนือด้วย
ระยะทางจากอำเภอเมือง
ไปยังอำเภอต่างๆ
- อำเภออุบลรัตน์
51 กิโลเมตร
- น้ำพอง 32
กิโลเมตร
- หนองเรือ 44
กิโลเมตร
- บ้านไผ่
44 กิโลเมตร
- มัญจาคีรี
56 กิโลเมตร
- ชุมแพ
81 กิโลเมตร
- ภูเวียง 65
กิโลเมตร
- กระนวน 64
กิโลเมตร
- เขาสวนกวาง
54 กิโลเมตร
- สีชมพู 115
กิโลเมตร - อ.พล 75 กิโลเมตร
- ชนบท 58
กิโลเมตร |
- แวงน้อย 97
กิโลเมตร
- แวงใหญ่
74 กิโลเมตร
- บ้านฝาง 21
กิโลเมตร
- พระยืน
32 กิโลเมตร
- หนองสองห้อง
97 กิโลเมตร
- เปือยน้อย
97 กิโลเมตร
- ภูผาม่าน
113 กิโลเมตร
- กิ่งอำเภอหนองนาคำ
85 กิโลเมตร
- กิ่งอำเภอซำสูง
45 กิโลเมตร
- กิ่งอำเภอโคกโพธิ์ชัย
76 กิโลเมตร |
 |
รถยนต์
ขอนแก่นอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ
ไปตามทางรถยนต์ 445 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี ตรงหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข
2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาถึงจังหวัดขอนแก่น อีกเส้นทางหนึ่ง
ใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ ถึงสระบุรีแล้วตรงไปตามถนนสระบุรี-ลำนารายณ์
แยกขวาเข้าเส้นทางม่วงค่อม-ด่านขุนทด-ชัยภูมิ-ขอนแก่น หรือสระบุรี-ลำนารายณ์-อำเภอเทพสถิตย์-ชัยภูมิ-อำเภอมัญจาคีรี-อำเภอพระยืน-ขอนแก่น
|
 |
รถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ
ถนนกำแพงเพชร 2 มีรถโดยสารธรรมดา รถปรับอากาศ และรถนอนพิเศษชนิด
24 ที่นั่ง วิ่งบริการทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่
โทร. 936-2852-66 |
 |
รถไฟ
มีขบวนรถไฟออกจากสถานีกรุงเทพฯ
(หัวลำโพง) ผ่านจังหวัดขอนแก่น ไปจังหวัดอุดรธานี และหนองคายทุกวัน
ทั้งรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนดีเซลรางปรับอากาศ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
โทร. 223-7010, 223-7020 สถานีรถไฟขอนแก่น โทร. (043) 221112 |
 |
เครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
เปิดบริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ขอนแก่น ทุกวันๆละ 3 เที่ยว ใช้เวลาเดินทาง
50 นาที ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
โทร. 280-0060, 628-2000 และที่ขอนแก่น โทร. (043) 236523, 239011,
238835 |
สถานที่น่าสนใจ
ในเขตอำเภอเมือง
ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์หลักเมือง ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาสุขใจ
ถนนเทพารักษ์หน้าเทศบาลขอนแก่น ท่านเจ้าคุณปู่พระราชสารธรรมมุนีและหลวงธุรนัยพินิจ
อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้ริเริ่มสร้างโดยนำหลักศิลาจารึกมาจากโบราณสถานในท้องที่อำเภอชุมแพ
มาประกอบพิธีตามแนวทางพระพุทธศาสนา ทำเป็นหลักเมือง เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม
2499 ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวขอนแก่น ทุกวันจะมีประชาชนมาไหว้บูชากันตลอดเวลา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติส่วนภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตั้งอยู่ที่ถนนหลังศูนย์ราชการ โบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์
ส่วนใหญ่ได้มาจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีภายในเขตศิลปากรที่ 7 อีกส่วนหนึ่ง
เป็นศิลปวัตถุสมัยต่างๆ ที่แบ่งมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
พิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 2 ระดับชั้น
ชั้นล่างด้านหนึ่งเน้นเรื่องราวของอู่อารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ที่บ้านเชียง
โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องมือเครื่องใช้ ภาชนะดินเผา อีกด้านหนึ่งจัดแสดงใบเสมาหินจำหลักเรื่องพุทธประวัติและภาพปูนปั้นศิลปทวาราวดี
จากเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนชั้นที่สองอาคารพิพิธภัณฑ์
เป็นส่วนของศิลปวัตถุสมัยขอมหรือลพบุรีที่ได้ในภาคอีสาน เช่น พระพุทธรูป
เครื่องปั้นดินเผาและศิลปวัตถุอื่นรวมทั้งทับหลัง หินทรายจากปราสาทหินในภาคอีสาน
และอีกด้านหนึ่งของชั้นบนเป็นศิลปวัตถุยุคสมัยต่างๆ ของภาคกลาง เช่น
อยุธยา สุโขทัย เป็นต้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น เปิดให้เข้าชมทุกวัน
เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. อัตราค่าเข้าชมชาวไทย
5 บาท ชาวต่างประเทศ 10 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ โทร. (043) 246170
บึงแก่นนคร มีลักษณะเป็นบึงขนาดใหญ่ ในเนื้อที่ 603 ไร่ ในเขตเทศบาลกลางเมืองขอนแก่น
เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีถนนเลียบริมน้ำโดยรอบ ได้มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณรอบบึงให้เป็นสวนสุขภาพ
ภายในสวนบริเวณรอบๆ มีภาพประติมากรรมรูปต่างๆ ทางเทศบาลได้ทำการปลูกต้นคูนและไม้ดัดไว้อีกมากมาย
ทำให้ดูร่มรื่นสวยงาม นอกจากนี้ยังมีสนามเด็กเล่นและร้านอาหารบริการผู้มาพักผ่อน
ทางทิศเหนือ ของบึงแก่นนครเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์ เจ้าเพียเมืองแพน
ผู้ก่อตั้งเมืองขอนแก่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งอยู่เนินสูงที่มีชื่อว่า มอดินแดง
ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมือง มีพื้นที่ประมาณกว่า 5,000 ไร่ เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2507 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทรงกระทำพิธีเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อวันที่
20 ธันวาคม 2510 มหาวิทยาลัยอยู่ห่างจากตัวเมือง 4 กิโลเมตร มีทางเข้าสองทางคือ
ด้านถนนมิตรภาพ (สายขอนแก่น-อุดรธานี) และด้านถนนประชาสโมสร (สายขอนแก่น-เลย)
เป็นศูนย์กลางการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทของภาคอีสาน นอกจากนี้ยังมีบึงสีฐานเป็นแหล่งพักผ่อนและเป็นที่อยู่อาศัยของนกเป็ดน้ำในช่วงฤดูหนาว
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอน้ำพอง
พระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง
การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 209 (ขอนแก่น-กาฬสินธุ์) ประมาณกิโลเมตรที่
12-13 เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวเมืองขอนแก่นประมาณ
30 เมตร ตามประวัติโดยย่อกล่าวว่าโมริยกษัตริย์ เจ้าเมืองโมรีย์ซึ่งเป็นเมืองอยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา
มีความประสงค์ที่จะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ไว้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ๆ
มาบรรจุพระธาตุพนม จึงโปรดให้พระอรหันต์และพระเถระเจ้าคณะรวม 9 องค์
นำขบวนอัญเชิญพระอังคารมาในครั้งนี้ เมื่อผ่านมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่ง
ซึ่งมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่น เนื่องจากเป็นเวลาพลบค่ำแล้วและบริเวณนี้ภูมิประเทศราบเรียบดีจึงหยุดคณะพักชั่วคราว
รุ่งเช้าจึงเดินทางต่อ ไปถึงภูกำพร้าปรากฏว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว
จึงเดินทางกลับและตั้งใจว่าจะนำพระอังคารธาตุกลับไปประดิษฐานไว้ที่บ้านเมืองของตน
แต่เมื่อเดินทางผ่านดอนมะขามอีกครั้งปรากฏว่า แก่นมะขามที่ตายแล้วนั้นกลับยืนต้นแตกกิ่งก้านผลิใบเขียวชอุ่มเป็นที่น่าอัศจรรย์
คณะอัญเชิญพระอังคารธาตุจึงพร้อมใจกันสร้างเจดีย์ครอบต้นมะขามนี้ พร้อมกับนำพระอังคารธาตุและพระพุทธรูปบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ
และให้นามว่าพระธาตุขามแก่นมาจนทุกวันนี้ พระธาตุขามแก่นถือว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น
ทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะมีงานฉลองและนมัสการพระธาตุเป็นประจำ
กู่ประภาชัย หรือ กู่บ้านนาคำน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านนาคำน้อย
ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น อยู่บนเส้นทางเดียวกับพระธาตุขามแก่น
ตรงต่อไปก่อนถึงสะพานข้ามคลองส่งน้ำจากลำน้ำพอง เลี้ยวซ้ายตามถนนลูกรัง
แล้วเลี้ยวขวาข้ามสะพานเข้าหมู่บ้านนาคำน้อยอีก 500 เมตร ถึงวัดกู่ประภาชัย
กู่ประภาชัย หรือกู่บ้านนาคำน้อย
คือกลุ่มโบราณสถานที่มีลักษณะแผนผังเป็นอโรคยาศาล สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่
7 แห่งอาณาจักรเขมร ราวพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1720-1780) ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทางด้านหน้า
ด้านขวามือเยื้องไปข้างหน้าเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า บรรณาลัย
อาคารทั้งสองล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วโดยมีโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าออกด้านหน้าหรือทางด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว
นอกกำแพงที่มุมซ้ายมีสระน้ำ ทั้งหมดสร้างด้วยศิลาแลง โดยมีเสาประดับประตู
ทับหลังเป็นหินทราย กู่ประภาชัย หรือกู่บ้านนาคำน้อย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภออุบลรัตน์
เขื่อนอุบลรัตน์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน
การเดินทางไปชมเขื่อนไปได้ตามทางหลวงหมายเลข 2 (ขอนแก่น-อุดรธานี) ถึงหลักกิโลเมตรที่
470-471 ซึ่งห่างจากขอนแก่น 26 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่เขื่อนอุบลรัตน์อีก
24 กิโลเมตร รวมระยะทาง ห่างจากตัวเมือง 50 กิโลเมตร เขื่อนแห่งนี้สร้างข้ามแม่น้ำพอง
จึงเรียกเขื่อนพองหนีบ โดยปิดกั้นลำแม่น้ำพองตรงบริเวณช่องเขาที่เป็นแนวต่อเทือกเขาสองเทือกเขา
คือ ภูเก้าและภูพานคำ
เขื่อนอุบลรัตน์ เป็นเขื่อนแบบหินทิ้งอเนกประสงค์ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้า
การชลประทาน การประมง การป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในฤดูฝน การคมนาคม ตลอดจนเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ
เริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี พ.ศ. 2506 แล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ
ได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2509 นอกจากนั้นที่เขื่อนฯ
ยังมีบ้านพักไว้บริการ และมีเรือให้เช่าชมทิวทัศน์โดยคิดค่าบริการลำละ
600 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ที่ทำการเขื่อนอุบลรัตน์ โทร. (043) 446149
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2528 ครอบคลุมพื้นที่ 201,250 ไร่ โดยมีที่ทำการอุทยานฯ
อยู่ที่ริมทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ เชิงเขาภูพานคำ เขตอำเภอโนนสัง
จังหวัดหนองบัวลำภู มีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ 2 แห่ง คือ ภูเก้า และภูพานคำ
- ภูเก้า ประกอบด้วยภูเขา 9 ลูก
คือ ภูฝาง ภูขุมปูน ภูหัน ภูเมย ภูค้อหม้อ ภูชั้น ภูเพราะ ภูลวก และภูวัด
ภูทั้ง 9 ลูกนี้มีความสลับซับซ้อน มาก มีป่าไม้และสัตว์ป่านานาชนิด มีถ้ำ
น้ำตก ลานหินลาดมากมาย มีหินลักษณะแปลกๆ คล้ายปราสาท ถ้ำพลาไฮมีภาพเขียนรูปฝ่ามือและภาพแกะสลักของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
มีศาลาบนยอดหินที่เรียกว่า หอสวรรค์ ไว้ชมวิว นอกนี้ยังมีวัดพระพุทธบาทภูเก้าซึ่งมีรอยเท้าคนและสุนัขขนาดใหญ่สลักบนหินอันเกี่ยวโยงกับนิทานพื้นบ้านเรื่อง
พระสุพรหมวิโมขา กับหมาเก้าหาง ภายในวัดพระพุทธบาทภูเก้ายังมีถ้ำมึ้ม
และถ้ำอาจารย์สิม ซึ่งภายในถ้ำมีภาพเขียนสีและภาพสลักตามผนังถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์
- ภูพานคำ เป็นเทือกเขาทอดยาวจากเหนือสู่ใต้
จากอำเภอเมืองหนองบัวลำภู จนถึงเขื่อนอุบลรัตน์ เป็นเทือกเขาที่แบ่งเขตจังหวัดหนองบัวลำภู
และจังหวัดขอนแก่น ภูพานคำเป็นทิวเขาด้านตะวันออกของลุ่มน้ำพอง และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน
ตอนบนมีทัศนียภาพที่สวยงามของทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะพักแรมที่บริเวณทะเลสาบท้ายเขื่อนอุบลรัตน์
ภูพานคำนี้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และเป็นแหล่งตกปลาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดด้วย
หลังจากนั้นมาเป็นเวลาหลายร้อยปี วัดนี้ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง
จนถึงปี พ.ศ. 2451 มีคหบดีชาวพม่าคนหนึ่งได้มาเห็นเข้า เกิดความเลื่อมใส
ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยให้ช่างชาวพม่าเป็นผู้ดำเนินการ จึงมีศิลปะแบบพม่าเข้ามาแทนที่ศิลปะแบบขอม
ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม คงมีแต่โครงสร้างที่ยังเป็นรูปเดิมอยู่เท่านั้น
การเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
สามารถเดินทางไปได้ 2 ทาง คือ
เส้นทางที่ 1 ตามเส้นทางสายขอนแก่น-เขื่อนอุบลรัตน์
จากตัวเมืองขอนแก่นถึงตลาดอำเภออุบลรัตน์ ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร
ต่อด้วยรถยนต์โดยสารประจำทางสายเขื่อนอุบลรัตน์-โนนสัง ระยะทางประมาณ
6 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองตามทางหลวงหมายเลข
2146 สายหนองบัวลำภู-โนนสัง ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านโสกจาน
จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางสายบ้านโสกจาน-เขื่อนอุบลรัตน์ ระยะทางประมาณ
14 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ ติดต่อขออนุญาตพักแรมได้
ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-7223, 579-5734
เวียงกุมกาม เป็นเมืองโบราณที่พญามังราย
(พ่อขุนมังราย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยโปรดฯ
ให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียง โบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกาม
และใกล้เคียง จากการสำรวจพบว่ามีอยู่ 20 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถาน
และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่
ยม วัดช้างและซากเจดีย์ วัดกุมกาม วัดน้อย วัดปู่เตี้ย วัดกู่ขาว วัดอีก้าง
ซึ่งรูปแบบทางศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมนั้นมีทั้งแบบรุ่นเก่า และสมัยเชียงใหม่รุ่งเรืองปะปนกันไป
ปัจจุบันเวียงกุมกาม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่
ประมาณกิโลเมตร 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ด้านขวามือในเขตตำบลท่าวังตาล
อำเภอสารภีและอยู่ใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอชุมแพ
เมืองโบราณสมัยทวาราวดีที่อำเภอชุมแพ เป็นการพบร่องรอยทางโบราณคดี
ยุคสมัยศิลปะทวาราวดี ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น เมืองโบราณสมัยทวาราวดีแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า
โนนเมือง เขตบ้านนาโพธิ์ อำเภอชุมแพ ห่างจากจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 80
กิโลเมตร เดิมทีชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมาว่าบริเวณเนินดินกว้างที่เรียกว่าโนนเมืองนั้น
เป็นเมืองเก่าเมืองโบราณ ลักษณะของเนินเป็นเนินดินรูปไข่ พื้นที่ประมาณ
170 ไร่ มีคูเมือง 2 ชั้น ระยะห่างกันประมาณ 200 เมตร จากการสำรวจของหน่วยศิลปากรที่
7 พบใบเสมาหินทรายศิลปะทวาราวดี 3 ชิ้น ตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน และพบเศษภาชนะดินเผาชิ้นไม่ใหญ่นักกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนเนินดิน
เศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มีทั้งชนิดเขียนสีแดง ชนิดลายขูดขีดและลายเชือกทาบ
นอกจากนี้ยังค้นพบ โครงกระดูกมนุษย์ที่มีพิธีฝังศพตามประเพณีโบราณ มีธรรมเนียมการฝังเครื่องมือเครื่องใช้ลงไปพร้อมศพด้วย
เช่น หม้อและภาชนะดินเผาเขียนสีและลายขูดขีด ลายเชือกทาบ กำไลสำริด กำไลกระดูกสัตว์
เปลือกหอย ลูกปัดหินสี ฯลฯ การเดินทาง ใช้เส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข
12) ผ่านตัวอำเภอชุมแพ ถึงที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก
5 กิโลเมตร
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอภูเวียง
อุทยานแห่งชาติภูเวียง ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู
และอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ 203,125 ไร่ หรือ 325 ตารางกิโลเมตร
ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2534 มีลักษณะภูมิประเทศเป็นรูปร่างคล้ายปล่องภูเขาไฟ
โดยพื้นที่ตอนกลางเป็นที่ราบล้อมรอบด้วยพื้นที่ดอนลาดและภูเขา บริเวณที่ราบเป็นป่าเต็งรัง
และบริเวณที่สูงจากระดับน้ำทะเล 250 เมตร เป็นป่าดิบแล้ง ลักษณะภูมิอากาศฤดูฝนเริ่มเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
และฤดูแล้งเริ่มเดือนพฤศจิกายน-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 26 องศาเซลเซียส
การเดินทาง จากตัวเมืองขอนแก่นใช้เส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข
12) เป็นระยะทาง 48 กิโลเมตร แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2038 เป็นระยะทาง
18 กิโลเมตร ถึงอำเภอภูเวียง แล้วใช้เส้นทางภูเวียง-บ้านเมืองใหม่ ไปจนถึงกิโลเมตรที่
23 จะเป็นบริเวณที่เรียกว่า ปากช่องภูเวียง มีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูเวียงตั้งอยู่เพื่อให้บริการสอบถามข้อมูลการเที่ยวชม
เดินทางต่อไปจนถึงกิโลเมตรที่ 30 เลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าอ่างเก็บน้ำบ้านโพธิ์
เป็นระยะทาง 7.7 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเวียง ที่ภูประตูตีหมา
ภายในอาคารมีการจัดแสดงซากกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์ที่ขุดพบบริเวณภูเวียง
โดยมีคำอธิบายการลักษณะและการเกิดซากต่างๆ เหล่านี้
สิ่งที่น่าสนใจในอุทยาน
- พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานอยู่บนยอดภูเวียง
มีภาพสลักบนหินธรรมชาติ เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ศิลปะทวาราวดีที่งดงาม
ความยาวจากพระเศียรจรดปลายพระบาทประมาณ 3 เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตก
นอนตะแคงพระเศียรหนุนแนบกับลำแขนขวา แขนซ้ายทอดไปตามลำพระองค์เป็นท่านอนแบบเก่าที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย
นับเป็นพระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่งดงามมาก และจัดเป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญที่สุดของจังหวัดขอนแก่น
มีงานนมัสการในวันตรุษสงกรานต์ทุกปี การเดินทางสามารถเดินทางไปโดยทางรถยนต์
จากขอนแก่นไปตามทางหลวงหมายเลข 12 ขอนแก่น-ชุมแพ ถึงกิโลเมตรที่ 75 ถึงบ้านไชยสอ
เลี้ยวขวาไปตามทางเกวียนถึงเชิงเขาประมาณ 2.5 กิโลเมตร แล้วเดินต่อไปตามภูเขาสูงชันอีกประมาณ
2.5 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ถึงพระพุทธไสยาสน์
- ถ้ำฝ่ามือแดง อยู่บนภูเวียงใกล้เขตบ้านหินล่อง
ตำบลเมืองเก่า อำเภอภูเวียง บริเวณถ้ำลึกประมาณ 7 เมตร สูงประมาณ 3 เมตร
ยาวประมาณ 50 เมตร ฝาผนังถ้ำมีภาพลายมือหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีมือ
9 มือ ขนาดใหญ่ 7 มือ ขนาดเล็ก 2 มือ โดยเอามือนาบกับผนังหินแล้วพ่นสีแดงเรื่อๆ
ลงไป ซึ่งสำรวจพบเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2507
-น้ำตกตาดฟ้า น้ำตกตาดฟ้าอยู่บนเขาภูเวียง
ตำบลภูเวียง อำเภอภูเวียง เป็นน้ำตกสูงประมาณ 15 เมตร เป็นน้ำตกธรรมชาติที่สวยงาม
สามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์ห่างจากอำเภอภูเวียง 18 กิโลเมตร และต่อขึ้นเขาไปอีก
6 กิโลเมตร
- สุสานหอย 175 ล้านปี เป็นฟอสซิลของหอยน้ำจืดที่อัดตัวกันเป็นก้อนหินขนาดใหญ่หลายก้อนอยู่บนยอดเขาบริเวณภูประตูตีหมา
- ซากกระดูกไดโนเสาร์ สืบเนื่องจากในปี
พ.ศ. 2519 นักธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี ได้พบกระดูกใหญ่ชิ้นหนึ่งระหว่างการสำรวจเพื่อค้นหาแหล่งแร่ยูเรเนียม
ในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เจ้าหน้าที่จากกรมทรัพยากรธรณี
และผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศส ได้ตรวจวิจัยตัวอย่างกระดูกชิ้นนั้น สรุปว่าเป็นกระดูกหัวเข่าข้างซ้ายของไดโนเสาร์
หลังจากนั้นได้มีการดำเนินการขุดค้นสำรวจพบซากไดโนเสาร์อีกหลายครั้ง
นอกจากกระดูกที่จัดแสดงในอาคารที่ทำการฯ แล้ว ยังมีการขุดแต่งหลุมที่ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ที่บริเวณภูประตูตีหมา
เป็นไดโนเสาร์กินพืชในสกุลคามาราซอรัส มีลำตัวใหญ่มาก เดินด้วยเท้าสี่เท้าที่แข็งแรง
มีหางยาวคอยาว แต่หัวเล็ก มีความยาวประมาณ 15 เมตร ซากเหล่านี้พบในหินหมวดเสาขรัว
มีอายุ 150 ล้านปี นักท่องเที่ยวสามารถขอให้เจ้าหน้าที่อุทยานนำทางไปชมได้
- รอยเท้าไดโนเสาร์ พบบริเวณหินลาดป่าชาด
บนเทือกเขาภูเวียง ตำบลในเมือง อำเภอภูเวียง เป็นรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก
เดินด้วย 2 เท้า มีจำนวน 68 รอย และมีอยู่ 1 รอยมีขนาดใหญ่ คาดว่าเป็นรอยไดโนเสาร์คารโนซอรัส
เช่นเดียวกับรอยที่ค้นพบที่ภูหลวง การเข้าชมอุทยานฯ และที่พัก ติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานฯ
บริเวณภูประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ทุกวัน และหากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ
ขอเจ้าหน้าที่นำชม สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. (043) 291393
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอภูผาม่าน
อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน มีเนื้อที่ประมาณ 218,750
ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และเขตอำเภอภูผาม่าน อำเภอชุมแพ
จังหวัดขอนแก่น ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.
2534 สภาพทั่วไปยังคงอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าดงดิบ และป่าไม้เบญจพรรณ สภาพอากาศเหมือนที่ภูกระดึงของจังหวัดเลย
คือ จะมีอากาศเย็นและชื้นเกือบตลอดปี มีพันธุ์ไม้มีค่าหลายชนิดอยู่หนาแน่น
พันธุ์ไม้พิเศษคือ ไม้ลาน กรมป่าไม้ได้จัดตั้งโครงการพัฒนาป่าดงลานในรูปหมู่บ้านป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงลาน
ณ ที่ตั้งที่ทำการโครงการพัฒนาป่าดงลาน 4 ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอภูผาม่านประมาณ
15 กิโลเมตร สามารถค้างแรมได้ นอกจากนี้บริเวณที่ทำการโครงการมีแปลงเกษตร
ทดลองปลูกพืช เมืองหนาว หลายแปลง ภูมิประเทศรอบโครงการงดงามสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือน
โดยเฉพาะผู้ที่ชอบการท่องเที่ยวประเภทป่าเขาลำเนาไพร
สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ
มีถ้ำต่างๆ
หลายแห่ง เช่น ถ้ำปู่หลุบ ซึ่งอยู่ติดกับที่ทำการอุทยานฯ มีหินงอกหินย้อยสวยงาม
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีน้ำไหลรินตลอดเวลา ถ้ำผาพวงเป็นถ้ำที่สวยงาม
ซึ่งปากทางเข้าอยู่ฝั่งตรงข้ามที่ทำการอุทยานฯ นอกจากนี้มีถ้ำลายแทง
อันเป็นถ้ำที่มีภาพเขียนสีโบราณบนผนังถ้ำ และรอบชายเขตอุทยานฯ มีน้ำตกที่งดงามหลายแห่ง
เช่น น้ำตกตาดฮ้อง น้ำตกตาดฟ้า และน้ำตกเขาสามยอด เป็นต้น เนื่องจากเป็นอุทยานฯ
ซึ่งเพิ่งก่อตั้งใหม่ การเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ จึงยังลำบากและทุรกันดาร
ทั้งยังไม่มีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว ผู้สนใจเที่ยวชมควรเตรียมพร้อมในทุกด้าน
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-7223,
579-5734
ผานกเค้า เป็นภูเขาสูงตั้งตระหง่านอยู่ริมลำน้ำพอง
ในเขตท้องที่อำเภอภูผาม่านหันหน้าชนกับภูกระดึง จังหวัดเลย ผานกเค้าอยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น
125 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายขอนแก่น-วังสะพุง (หมายเลข 2 และ 201) ผานกเค้าอยู่ทางด้านซ้ายมือของบ้านดงลาน
ลักษณะของผานกเค้าเป็นภูเขาหินสีดำ บางส่วนกระเทาะออกเห็นเนื้อหินสีส้ม
มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย บริเวณที่จะมองเห็นเค้าโครงของนกเค้าได้ชัดเจนควรเดินเข้าไปในศูนย์เพาะชำกล้วยไม้
กองบำรุง กรมป่าไม้ ซึ่งตั้งอยู่อีกฟากถนน จะเห็นว่าลักษณะผาเหนือจงอยปากขึ้นไปมีลักษณะเป็นหงอน
ถัดลงมาเป็นหินกลมโค้งต่ำจากส่วนหงอนลงมาเป็นส่วนหัว ตรงกลางหัวมีรอยหินกระเทาะเป็นสีส้มอยู่ในตำแหน่งดวงตา
ต่ำลงมาจากส่วนหัวจะถึงแนวปีกทั้งสองข้างที่กางออก
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอมัญจาคีรี
วัดอุดมคงคาคีรีเขต ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านโคก อำเภอมัญจาคีรีเป็นวัดป่าของหลวงปู่ผาง
ซึ่งเคยเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้ว แต่มีอนุสรณ์สถานที่บรรจุอัฐิของหลวงปู่ผางอยู่ในบริเวณวัด
นอกจากนั้นที่วัดยังมีเจดีย์และพระอุโบสถที่สวยงามและบริเวณรอบๆ ที่ตั้งของวัดซึ่งตั้งอยู่เชิงเขา
มีต้นไม้ป่าขึ้นอยู่ร่มรื่น เป็นสถานที่ที่เน้นการปฏิบัติวิปัสสนา การเดินทางนั้นจากขอนแก่นไปตามเส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ
(ทางหลวงหมายเลข 12) ประมาณ 14 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าเส้นทางสายบ้านทุ่ม-มัญจาคีรี
(ทางหลวงหมายเลข 2062) อีกประมาณ 44 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าเส้นทางสายมัญจาคีรี-ชัยภูมิ
(ทางหลวงหมายเลข 229) ประมาณ 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าวัดอีก 12 กิโลเมตร
หมู่บ้านเต่า จากขอนแก่นไปตามทางหลวงหมายเลข 12
(ขอนแก่น-ชุมแพ) ประมาณ 10 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2062
(ขอนแก่น-มัญจาคีรี) ประมาณ 54 กิโลเมตร (ก่อนถึงอำเภอมัญจาคีรี 2 กิโลเมตร)
ถึงบริเวณบ้านกอก ปากทางเข้าหมู่บ้านเต่าด้านซ้ายจะสังเกตเห็นเป็นรูปเต่าจำลอง
2 ตัว วางอยู่บนแท่นหินสูงจากพื้นดินประมาณ 1.5-2 เมตร ตั้งอยู่ตรงข้ามวัดศรีสุมัง
จากนั้น เลี้ยวซ้ายใช้เส้นทางลูกรังข้างวัดเข้าสู่เขตหมู่บ้านกอก ประมาณ
100 เมตร ก็จะถึงหมู่บ้านเต่า ซึ่งจะมีเต่าบกชนิดหนึ่ง (ชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า
เต่าเพ็ก) ลักษณะกระดองจะมีสีเหลืองแก่ปนน้ำตาลเดินอยู่เป็นจำนวนมาก
บ้างก็จะอยู่บริเวณใต้ถุนบ้านเพื่อรออาหารจากชาวบ้าน บ้างก็เดินอยู่ตามถนนภายในหมู่บ้าน
ซึ่งจะหาดูได้ไม่ยากเมื่อเดินทางไปถึง
สถานที่น่าสนใจ
ในเขตอำเภอชนบท
ผ้าไหมมัดหมี่ที่ชนบท ผ้าไหมมัดหมี่เป็นเอกลักษณ์อย่างงหนึ่งของอีสานที่มีวิธีการสร้างลายผ้าไหมด้วยวิธีโบราณสืบต่อกันมานาน
โดยนำเส้นไหมมามัดแล้วย้อมสีต่าางๆ ตามที่กำหนด และเมื่อนำเส้นไหมที่ย้อมสีแล้วไปทอก็จะได้ผ้าไหมที่มีลวดลายสีสันสวยงาม
กรรมวิธีมัดและย้อมเส้นไหมนี้ชาวอีสานเรียกว่า มัดหมี่ อำเภอชนบทเป็นอำเภอที่ทอผ้าไหมมัดหมี่เป็นอุตสาหกรรมหลัก
เป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวจะผ่านไปเสียมิไได้ มักจะแวะชมกรรมวิธีการผลิต
ตั้งแต่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจนถึงนำรังไหมมาต้มเพื่อสาวเส้นไหมเล็กๆ สีทองออกมา
มัดหมี่ย้อมลวดลายจนกระทั่งทอเป็นผืนผ้าสำเร็จ อำเภอชนบทห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่น
ประมาณ 54 กิโลเมตร ไปตามถนนมิตรภาพขอนแก่น-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข
2) ย้อนจากขอนแก่นลงทิศใต้ถึงอำเภอบ้านไผ่แล้วแยกขวาไปตามถนนสายบ้านไผ่-ชนบท
อีกประมาณ 10 กิโลเมตร
ศาลาไทย ตั้งอยู่ ณ บริเวณวิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น อำเภอชนบท
จังหวัดขอนแก่น เป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ (12 สิงหาคม
2535) เพื่อเป็นศูนย์สืบสานพระราชปณิธานงานศิลปาชีพด้านผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมของภาคอีสาน
รวมทั้งเป็นศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสาน
โดยทรงพระราชทานนามอาคารพิพิธภัณฑ์ศาลาไทยว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติ
60 พรรษา มหาราชินี ภายในอาคารจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับผ้าไหมมัดหมี่ของโครงการและลายผ้าไหมมัดหมี่
พร้อมผ้าไหมมัดหมี่ที่ชนะการประกวดต่างๆ อีกทั้งนิทรรศการเกี่ยวกับผ้าไหมมัดหมี่โบราณ
อุปกรณ์ เครื่องใช้เกี่ยวกับไหมและของเก่าแก่ควรอนุรักษ์ การเดินทางจากขอนแก่น
ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (ขอนแก่น-โคราช) 44 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่สี่แยกบ้านไผ่ไปอีก
11 กิโลเมตร ศาลาไหมไทยอยู่ทางซ้ายมือ (ตรงข้ามกับหนองกองแก้ว หนองน้ำงดงามของอำเภอชนบท)
ศาลาไหมไทย เปิดให้นักท่องเที่ยวชมทุกวัน ในเวลาราชการและการเข้าชมเป็นหมู่คณะ
ติดต่อโดยตรงที่วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น 40180
โทร. (043) 286160, 286218 โทรสาร (043) 286031
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอเปือยน้อย
กู่เปือยน้อยหรือพระธาตุกู่ทอง เป็นปราสาทหินศิลปะขอมหรือลพบุรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในจังหวัดขอนแก่น
และจังหวัดใกล้เคียง ในแถบภาคอีสานตอนบน ตั้งอยู่ที่อำเภอเปือยน้อย ระยะทาง
79 กิโลเมตร จากจังหวัดขอนแก่น ชาวบ้านเรียกว่า ธาตุกู่ทอง องค์ปรางค์ปราสาท
หันหน้าสู่ทิศตะวันออก สร้างด้วยหินทรายจำหลักลวดลายสวยงาม กำแพงขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบเป็นเขตปราสาทสร้างด้วยศิลาแลง
ส่วนหนึ่งขององค์ปรางค ์ ทลายลงมาบ้างและอยู่ระหว่างการบูรณะ การเดินทางจากขอนแก่นจะใช้เส้นทางหลวงหมายเลข
2 ขอนแก่น-บ้านไผ่ ระยะทาง 44 กิโลเมตร เข้าเส้นทางสายบ้านไผ่-บรบือ
(ทางหลวงหมายเลข 23) ไปอีกประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าสู่อำเภอเปือยน้อยอีก
24 กิโลเมตร
เทศกาลดอกคูณเสียงแคน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน
ของทุกปี บริเวณบึงแก่นนคร ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและชุมนุมสังสรรค์ของชาวขอนแก่น
กิจกรรมเริ่มด้วยการทำบุญตักบาตร การสรงน้ำพระ ภายในงานมีการจัดแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน
ขบวนเกวียนบุปผชาติ การประกวดอาหารอีสาน การแข่งเรือในบึงแก่นนคร การประกวดกลองยาว
การแสดงบนเวทีและการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง เป็นต้น
งานเทศกาลไหมและประเพณีผูกเสี่ยว จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม
เป็นเวลา 10 วัน 10 คืน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัด งานเทศกาลไหมและประเพณีผูกเสี่ยวนี้
สืบเนื่องมาจากประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาชีพรองที่ขึ้นหน้าขึ้นตา
ได้แก่ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าต่างๆ ซึ่งทางราชการได้ให้ความสนับสนุน
จนจังหวัดขอนแก่นเป็นแหล่งผลิตผ้าไหมที่มีชื่อเสียง ประกอบกับมีประเพณีการผูกเสี่ยวซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของภาคอีสาน
ที่มุ่งให้คนรุ่นเดียวกันรักใคร่เป็นพี่เป็นน้องช่วยเหลือกัน เรียกว่า
คู่เสี่ยว ขึ้นโดยมุ่งส่งเสริมอาชีพการทอผ้าไหมและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้
ในงานจะมีขบวนแห่คู่เสี่ยวและพานบายศรีของอำเภอต่างๆ มีพิธีผูกเสี่ยว
การประกวดผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน งานพาข้าวแลง (การรับประทานอาหารค่ำแบบพื้นเมืองอีสาน)
การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และการออกร้านจำหน่ายผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต่างๆ
เทศกาลไหว้พระธาตุขามแก่น จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันเพ็ญเดือนหก
(วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) ณ วัดเจติยภูมิ เป็นงานเฉลิมฉลองพระธาตุเพื่อให้ประชาชนได้สักการะพระธาตุคู่บ้านคู่เมือง
ในงานมีการแสดงศิลปะพื้นบ้าน และการออกร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ
ประเภทหัตถกรรมพื้นบ้าน
กลุ่มแพรพรรณ (ศูนย์ศิลปหัตถกรรมเพื่อพัฒนาสตรีอีสาน) 131-193 ถนนชาตะผดุง
โทร. 337216
มรดกไทย 87/26-27 ถนนอำมาตย์ โทร. 243827
แม่หญิง 435/3 ถนนหน้าเมือง โทร. 321263
รินไหมไทย 412 ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง โทร. 221042
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนมิตรภาพ ตำบลสำราญ
โทร. 242047
ศูนย์สิ่งทอพระธรรมขันธ์ ขอนแก่น 79/2-3 ถนนรื่นรมย์ โทร. 221548
สืบสาย 227/71 หมู่บ้านมิตรสัมพันธ์
ทุ่งเศรษฐี ถนนประชาสโมสร โทร. 337103
นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารแห้ง ได้แก่ กุนเชียง หมูแผ่น
หมูหยอง แหนม หมูยอ ถั่วตัด ตุบตั้บ ฯลฯ
กุนเชียงนายบู๊ 198-200 ถนนร่วมจิต โทร. 223009
เตียฮั่วหยู 584 ถนนศรีจันทร์ อำเภอเมือง โทร. 224472
ไสวรสทิพย์ 179/32 ถนนประชาสโมสร โทร. 239733
แหนมลับแล 42 ถนนกลางเมือง โทร. 236537
เฮงง่วนเฮียง 54/1-2 ถนนกลางเมือง โทร. 239458, 236735
แก่นคูน แทรเวล 54/1-2 ถนนกลางเมือง โทร. 239458,
236735
แก่นสยาม แทรเวล 110/55 ถนนศรีจันทร์ โทร. 221119,
226344 โทรสาร 226345
คาร์เร้นท์ เซอร์วิส 98/14 ถนน 5 พฤศจิกา โทร. 243545,
239304, 332400
จงสุมาลย์ 105 ถนนดรุณสำราญ โทร. 223310
แอร์บุ๊คกิ้ง แอนด์ แทรเวล เซ็นเตอร์ 403 ถนนศรีจันทร์
โทร. 244482, 236562 โทรสาร 236562
สำนักงานจังหวัดขอนแก่น 236882
สถานีตำรวจภูธร 221162
ตำรวจท่องเที่ยว 236937-8
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 237902, 242344-6
โรงพยาบาลขอนแก่น 236006
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 เลขที่ 15/5 ถนนประชาสโมสร
อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000 โทร. (043) 244498-9 โทรสาร
(043) 244497 (พื้นที่ความรับผิดชอบ : ขอนแก่น มหาสารคาม
ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์)
|