น
ครศรีธรรมราช เป็นเมืองเก่ามีความหมายถึง นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม
หรือ เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ นครศรีธรรมราชอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ
โดยทางรถยนต์ประมาณ 780 กิโลเมตร และทางรถไฟประมาณ 832 กิโลเมตร มีเนื้อที่
9,942.502 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและอ่าวไทย
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพัทลุง
สงขลา และตรัง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับชายทะเลฝั่งอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี
และกระบี่
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
- อำเภอปากพนัง 36
กิโลเมตร
- อำเภอทุ่งสง 55
กิโลเมตร
- อำเภอฉวาง 71
กิโลเมตร
- อำเภอร่อนพิบูลย์
32 กิโลเมตร
- อำเภอชะอวด 71
กิโลเมตร
- อำเภอท่าศาลา
28 กิโลเมตร
- อำเภอเชียรใหญ่ 52
กิโลเมตร
- อำเภอสิชล 66
กิโลเมตร
- อำเภอหัวไทร 66
กิโลเมตร
- อำเภอลานสกา
21 กิโลเมตร
- อำเภอทุ่งใหญ่ 102
กิโลเมตร
- อำเภอพิปูน 93
กิโลเมตร
- อำเภอพรหมคีรี 21
กิโลเมตร
- อำเภอบางขัน 94
กิโลเมตร
- อำเภอถ้ำพรรณรา 25
กิโลเมตร
- อำเภอจุฬาภรณ์ 50
กิโลเมตร
- อำเภอขนอม 100
กิโลเมตร
ระยะทางจากตัวจังหวัดไปยังจังหวัดใกล้เคียง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
356 กิโลเมตร
จังหวัดตรัง 131
กิโลเมตร
จังหวัดพัทลุง 193
กิโลเมตร
จังหวัดสงขลา 313
กิโลเมตร
จังหวัดกระบี่ 336
กิโลเมตร
 |
ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ โดยทางหลวงหมายเลข
35 (สายธนบุรี-ปากท่อ) แยกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 หรือจะใช้ทางหลวงหมายเลข
4 ผ่านเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์จนถึงชุมพร เปลี่ยนมาใช้เส้นทางหลวงหมายเลข
41 ผ่านอำเภอทุ่งสง อำเภอร่อนพิบูลย์ จนถึงนครศรีธรรมราช หรือจะเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ
โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านนครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงอำเภอท่าฉาง
จังหวัดชุมพร แล้วจากนั้นให้แยกเข้าสู่สุราษฎร์ธานีโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข
401 เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงนครศรีธรรมราช |
 |
รถโดยสาร
บริษัท ขนส่ง จำกัด
มีรถโดยสารปรับอากาศชั้นหนึ่ง และรถโดยสารธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายใต้
ถนนบรมราชชนนี (ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร.
435-1200, 434-7192 นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัทเอกชน
ได้แก่
กรุงสยามทัวร์ โทร. 282-0261, 280-2118 หรือ โทร. (075)
341665
นครศรีทัวร์ โทร. 435-5033, 435-5025 หรือโทร. (075) 342134
โสภณทัวร์ โทร. 281-2882-3 หรือ โทร. (075) 341221
นครศรีร่มเย็นทัวร์ โทร. 435-7428, 435-5016, 433-0722 หรือ
โทร. (075) 344373, 315390 |
 |
ทางรถไฟ
มีขบวนรถเร็ว
และรถด่วน กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช ออกจากสถานีกรุงเทพฯ ถึงนครศรีธรรมราช
ระยะทาง 832 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีขบวนรถด่วน และรถเร็วอีกหลายขบวนผ่านสถานีชุมทางทุ่งสง
ซึ่งสามารถจะต่อรถไฟ หรือรถยนต์เข้าสู่นครศรีธรรมราชได้อีกต่อหนึ่ง
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 223-7010,
223-7020 หรือที่ สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช โทร. (075) 356364 |
 |
ทางอากาศ
บริษัทการบินไทย
จำกัด เปิดเที่ยวกรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ
1.40 ชั่วโมง รายละเอียดติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ บริษัทการบินไทย
จำกัด โทร. 280-0060, 628-2000 และที่นครศรีธรรมราช โทร. (075) 342491,
343874 การคมนาคมภายในตัวจังหวัด มีรถสองแถววิ่งบริการรอบเมือง ส่วนการคมนาคมจากจังหวัดนครศรีธรรม
ราชไปสู่จังหวัดข้างเคียง สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งรถตู้ รถแท็กซี่
รถโดยสาร รถไฟ และเครื่องบิน |
สถานที่น่าสนใจ
ในเขตอำเภอเมือง
พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่ ณ หอพระพุทธสิหิงค์ ตั้งอยู่ระหว่างศาลากลางจังหวัดและศาลจังหวัด
แต่เดิมเป็นหอพระประจำวังของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช อยู่ในบริเวณที่ตั้งวังเดิมของเจ้าพระยานคร
(น้อย) พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ที่ชาวไทยสักการะบูชามาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล
และมีอยู่หลายองค์ด้วยกันกระจายไปตามจังหวัดต่างๆ แต่ที่ถือว่าเป็นองค์แท้จริงมีเพียงสามองค์
คือ องค์แรกประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
องค์ที่สองประดิษฐาน ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ และองค์ที่สามประดิษฐาน
ณ หอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามประวัติกล่าวว่าจำลองมาจากองค์ที่อัญเชิญมาจากลังกา
เพื่อไปประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ. 1845-1941 นอกจากพระพุทธสิหิงค์แล้วยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่
ศิลปะสมัยอยุธยาประทับนั่งอยู่ ชาวนครเรียกว่า พระเงิน และด้านหลังของหอ
เป็นที่เก็บอัฐิเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในสกุล ณ นคร
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง
มีเนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร
เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน
นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ ตามตำนานกล่าวว่า
สร้างเมื่อปี พ.ศ. 854 สร้างมามากกว่า 1,500 ปี มีศิลปะการก่อสร้างแบบศรีวิชัย
โดยเจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลาและบาคู (นักบวช) ชาวลังกา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน
ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็กๆ เพื่อเป็นที่หมายไว้ ต่อมาปี พ.ศ.
1093 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช (พระเจ้าจันทรภาณุ) ได้ทำการสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่เป็นทรงศาญจิ
และในปี พ.ศ. 1770 พระองค์จึงได้รับเอาพระภิกษุจากลังกามาตั้งคณะสงฆ์
และบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ให้เป็นไปตามแบบสถาปัตยกรรมทรงลังกา อันเป็นแบบที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันคือ
เป็นทรงระฆังคว่ำ หรือโอคว่ำ มีปล้องไฉน 52 ปล้อง รอบพระมหาธาตุมีเจดีย์
158 องค์ สูงจากฐานถึงยอด 37 วา 2 ศอก ยอดสุดของปล้องไฉนหุ้มทองคำเหลืองอร่าม
สูง 6 วา 1 ศอก แผ่เป็นแผ่นหนาเท่าใบลานหุ้มไว้ น้ำหนัก 800 ชั่ง (หรือ
960 กิโลกรัม)
ภายในวัดพระมหาธาตุฯ
วิหารที่มีความสำคัญหลายองค์ประดิษฐานอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวงซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา
วิหารสามจอมมีพระพุทธรูป พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์
วิหารพระมหาภิเนษกรม (พระทรงม้า) ทางขึ้นไปบนลานประทักษิณ วิหารทับเกษตร
วิหารเขียน และวิหารโพธิ์ลังกาซึ่งเป็นที่จัดและแสดงโบราณวัตถุ
วัดเสมาชัย เป็นแหล่งประดิษฐานปราสาทอิฐ 3 หลัง และศิลาจารึกจันทรภาณุ
หลักที่ 24 ปัจจุบันศิลาจารึกดังกล่าวได้ถูกย้ายไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ
แล้ว ยังคงเหลือร่องรอยแต่พระพุทธรูปปั้น เรียกว่า หลวงพ่อเสมาชัย 3
องค์ ทางด้านหน้า อนึ่ง วัดนี้มีบ่อน้ำก่อด้วยอิฐเล็กๆ ปัจจุบันมีต้นโพธิ์ขึ้นโอบ
เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ของเมืองนครฯ ใช้ในพระราชพิธีราชาภิเษกกษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์สืบมาทุกพระองค์
วัดเสมาเมือง ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน เป็นแหล่งประดิษฐานปราสาทอิฐ
3 หลัง และศิลาจารึกจันทรภาณุ หลักที่ 24 ปัจจุบันศิลาจารึกดังกล่าวได้ถูกย้ายไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่กรุงเทพฯ
แล้ว ยังคงเหลือแต่ร่องรอยแต่พระพุทธรูปปูนปั้น เรียกว่า หลวงพ่อเสมาชัย
3 องค์ ทางด้านหน้า อนึ่งวัดนี้มีบ่อน้ำเล็กๆ ก่อด้วยอิฐ ปัจจุบันมีต้นโพธิ์โอบ
เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ของเมืองนครฯ ใช้ในพระราชพิธีราชาภิเษกกษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์สืบมาทุกพระองค์
เก๋งจีนวัดประดู่และวัดแจ้ง ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนินใกล้กับสนามกีฬาจังหวัด
เป็นวัดคู่แฝด ก่อสร้างในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นที่ประดิษฐานบัวบรรจุอัฐิของพระยานคร
และเชื่อว่ารวมถึงพระอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีกด้วย
ศาลาโดหก หรือ ศาลาประดู่หก อยู่ริมถนนราชดำเนิน ระหว่างโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชกับจวนผู้ว่าราชการจังหวัด
ชาวบ้านเรียกว่า หลาหน้าเมือง เป็นศาลานอกกำแพงเมืองตรงประตูชัยเหนือแต่โบราณ
อันเป็นที่พักของคนเดินทาง ซึ่งเข้าเมืองไม่ทัน เพราะประตูเมืองปิดเสียก่อน
เดิมศาลาแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างต้นประดู่ (ต้นโด) หกต้น ชาวนครเรียกว่า
หลาโดหก ศาลาหลังที่มีอยู่ในทุกวันนี้สร้างขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยอยู่ริมถนนราชดำเนิน
ส่วนต้นประดู่ทั้งหกต้นได้ตายไปหมดแล้ว ทางเทศบาลจึงปลูกขึ้นใหม่จำนวนเท่าเดิม
เพื่อเป็นที่ระลึกถึงประดู่ (โด) ทั้งหกต้น
จวนออกญาเสนาภิมุข (ยามาดา นางามาซา) ออกญาเสนาภิมุข เป็นชาวญี่ปุ่น
เดิมชื่อ ยามาดา นางามาซา มาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรมในฐานทหารรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน
มีโอกาสทำความดีความชอบพิเศษหลายครั้งจนกระทั่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข
และได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าหลวงใหญ่ไปกินเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี
พ.ศ. 2172 ปัจจุบันมีบริเวณที่แสดงร่องรอยว่าเคยเป็นจวนที่พักของออกญาเสนาภิมุขในจังหวัดนครศรีธรรมราช
อยู่ที่บริเวณร้านอาหารแกงส้มในเมือง ถนนนางงาม ข้างศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
หอพระอิศวรและเสาชิงช้า หอพระอิศวร เป็นโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์
อยู่ริมถนนราชดำเนิน เดิมเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปอิศวรหลายองค์ เป็นปางหรือภาคต่างๆ
กัน เทวรูปทั้งหมดนี้หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ นับว่าเก่าแก่มีค่ายิ่งนัก
กรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2509 และได้นำเอาเทวรูปต่างๆ ไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดมหาธาตุ
ส่วนเสาชิงช้าได้สร้างขึ้นใหม่โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าในกรุงเทพฯ แต่เล็กกว่า
สำหรับโบสถ์พราหมณ์ได้พังทลายลงแต่มิได้สร้างขึ้นใหม่
หอพระนารายณ์ โบราณสถานในศาสนาพราหมณ์อีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน
ตรงกันข้ามกับหอพระอิศวร และไม่ปรากฏหลักฐานแสดงยุคสมัยและรูปแบบสถาปัตยกรรมในการก่อสร้างเช่นกัน
ภายในหอพระนารายณ์เดิมเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์สลักจากหินทรายสีเทาทรงหมวกรูปกระบอกปลายสอบ
และพระหัตถ์ขวาทรงสังข์ ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช
และโบราณวัตถุที่ตั้งแสดงอยู่ในหอพระนารายณ์ขณะนี้คือ เทวรูปปูนปั้นลักษณะคล้ายพระพุทธรูปทรงเครื่อง
พระกรสองข้างหักหายไปประดิษฐานอยู่แทน ทั้งหอพระอิศวรและหอพระนารายณ์สันนิษฐานว่า
สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 13-14 (สมัยศรีวิชัย) แต่ทรงที่เห็นในปัจจุบันไม่เหมือนของเดิม
เพราะได้รับการบูรณะมาหลายครั้ง
พระวิหารสูง หรือ หอพระสูง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช
ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองโบราณนครศรีธรรมราช ด้านทิศเหนือในบริเวณสนามหน้าเมือง
ถนนราชดำเนิน เรียกชื่อตามลักษณะของการก่อสร้างของพระวิหารซึ่งสร้างบนเนินดินที่สูงกว่าพื้นปกติถึง
2.10 เมตร ไม่ปรากฏหลักฐานแสดงประวัติอย่างแท้จริง แต่สามารถสันนิษฐานจากลักษณะของสถาปัตยกรรม
ประติมา กรรมและจิตรกรรมฝาผนังว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย รวมพุทธศตวรรษที่
23-24 ภายในพระวิหารประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปปูนปั้นแกนดินเหนียว สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่
23-24 หรือในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
อนุสาวรีย์วีรไทย หล่อด้วยทองแดงรมดำเป็นรูปทหารสองมือจับปืนติดดาบเตรียมแทง
ชาวบ้านเรียกว่า จ่าดำ หรือ เจ้าพ่อดำ สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ของทหารไทยในภาคใต้ที่เสียชีวิตในการปะทะกับทหารญี่ปุ่น
โดยเฉพาะทหารจากมณฑลทหารบกที่ 6 ค่ายวชิราวุธ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่
8 ธันวาคม 2484 ประดิษฐานอยู่บนถนนราชดำเนินในค่ายวชิราวุธอันเป็นที่ตั้งกองทัพภาคที่
4 ปัจจุบัน
สระล้างดาบ คือสระล้างดาบที่ใช้ประหารศรีปราชญ์
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น ศรีปราชญ์ได้ถูกเนรเทศมาอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช
ต่อมาได้เกิดเรื่องกับเจ้าพระยานครฯ และถูกสั่งประหาร ก่อนถูกประหารศรีปราชญ์ได้เขียนคำโคลงไว้ว่า
เมื่อตนไม่ผิด แต่ถูกสั่งประหารก็ขอให้ดาบนี้คืนสนอง ต่อมาเมื่อความทราบถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ทรงกริ้วพระยานครมาก จึงสั่งให้ประหารชีวิตเจ้าพระยานครด้วยดาบเล่มเดียวกัน
สระล้างดาบในปัจจุบันอยู่ภายในโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด (โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช)
สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่
11 นครศรีธรรมราช พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในเขตตำบลในเมือง ซึ่งบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของวัดสวนหลวงตะวันออกมาก่อน
ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์เปิดเมื่อปี พ.ศ. 2517เดิมจัดแสดงโบราณวัตถุที่ค้นพบในเขตหน่วยศิลปากรที่
8 คือในแถบภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี
และชุมพร ส่วนสาขาหอสมุดแห่งชาติเปิดบริการให้ประชาชนเข้าใช้ได้เมื่อ
พ.ศ. 2519 ซึ่งมีหนังสือเก่าที่หายาก และหนังสือสำคัญอื่นๆ ส่งมาจากหอสมุดแห่งชาติส่วนกลางไว้ศึกษา
ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
ตั้งอยู่ในสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางนครศรีธรรมราช-พรหมคีรี
ประมาณ 13 กิโลเมตร เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีที่ขุดค้นพบในนครศรีธรรมราช
ซึ่งได้จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านในอดีต ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมืองในสมัยต่างๆ
จนมาเป็นอาณาจักรศรีวิชัยทั้งยังเป็นศูนย์อนุรักษ์และฟื้นฟูมหรสพพื้นบ้านและค้นคว้ารวบรวมทางด้านภาษาและวรรณกรรม
รวมทั้งคติชนวิทยา ที่สำคัญได้แก่ข้อความจากศิลาจารึกที่ค้นพบที่เขาช่องคอย
และโบราณวัตถุที่ชุมชนโบราณวัดโมคลาน เป็นหลักฐานที่สำคัญที่ระบุว่าเมืองนครศรีธรรมราชสร้างขึ้นเมื่อใด
ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้แห่งนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30
น.
เจดีย์ยักษ์ เจดีย์สูงใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเจดีย์พระบรมธาตุ
อยู่ข้างสำนักงานเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช บริเวณวัดเจดีย์เดิม ซึ่งร้างไปแล้ว
สันนิษฐานว่าสร้างโดยโคทคีรีเศรษฐีชาวมอญ กรุงสะเทิม (ก่อนพม่ายึดครองเปลี่ยนนามเป็นหงสาวดี)
กับบริวารที่อพยพหลบภัยมาอาศัยเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อประมาณ พ.ศ. 1546
กำแพงเมืองเก่า ตั้งอยู่ใกล้กับสวนสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช
ริมถนนราชดำเนินฝั่งซ้าย เป็นกำแพงที่ซ่อมขึ้นใหม่ตามรูปเดิมในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
และได้รับการบูรณะเพิ่มเติมขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2533 เป็นแนวขนานไปกับคูเมือง
ตั้งแต่ป้อมประตูชัยเหนือ หรือประตูชัยศักดิ์ ไปทางตะวันออก ยาวประมาณ
100 เมตร
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ สวนสาธารณะขนาดใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ
1,257 ไร่ ตั้งอยู่หลังสนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช จากหลักฐานพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จประพาสแหลมมาลายูเมื่อ ร.ศ. 117 พบว่า
พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของ สวนราชฤดี ซึ่งพระองค์ได้ทรงหมายไว้สำหรับเสด็จประพาสในภายหน้า
ภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 จะประกอบไปด้วยสวนสัตว์เปิด สวนนกนานาชนิด
สวนสุขภาพ รวมทั้งทะเลสาบซึ่งเป็นที่อาศัยของนกเป็ดน้ำที่อพยพมาจากถิ่นอื่นในช่วงมกราคมถึงมีนาคม
ของทุกปี
สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช สนามหน้าเมืองมีเนื้อที่ประมาณ
33 ไร่เศษ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นสถานที่สำคัญที่มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของชาวนครอย่างแนบแน่น
เนื่องจากเป็นสนามรบในอดีต ต่อมากลายเป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมและกิจกรรมทั้งของรัฐและของราษฎร
เช่น เคยใช้เป็นที่สร้างพลับพลารับเสด็จพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลต่างๆ เป็นที่ประกอบพิธีสงกรานต์
ฝีกทหารและยุวชนทหาร และใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณีที่สำคัญของชาวนครรวมทั้งงานรื่นเริงอื่นๆ
และยังใช้เป็นสถานที่ทำพิธีถวายบังคมในวันปิยะมหาราชทุกปี
|