 |
ถ้าอ่านในอรรถกถา ก็จะพบว่าเส้นทางที่องค์สมเด็จพระทศพล ได้ทรงเสด็จไปโปรดชาวสุนาปรันตะ ต้องผ่าน สัจจพันธบรรพต ,แม่น้ำนัมมทาน ที่ทรงประทับรอยพระพุทธบาทเอาไว้
ปัญหาก็คือ มองจากแผนที่แล้ว ก็ยังไม่มีบริเวณที่คาดว่าจะเป็นแม่น้ำที่น่าจะทรงเสด็จประทับรอยพระพุทธบาทได้เลย
อ้างอิงจาก อรรถกถา
"...พระศาสดาเสด็จถึงสัจจพันธบรรพต ได้พักเรือนยอดไว้บนอากาศ ดาบสผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าสัจจพันธ์ที่บรรพตนั้น ให้มหาชนถือมิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้ถึงความเป็นเลิศด้วยลาภและเลิศด้วยยศอยู่. แต่ธรรมอันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระอรหัตตผลในภายในของท่านย่อมรุ่งโรจน์เหมือนประทีปลุกโพลงในภายในฉะนั้น. พระศาสดาครั้นทรงเห็นดังนั้นแล้ว จึงคิดว่าเราจักแสดงธรรมแก่เขา ดังนี้แล้วจึงเสด็จไปแสดงธรรม. ในเวลาจบเทศนา พระดาบสบรรลุพระอรหัต. อภิญญามาถึงท่านพร้อมด้วยพระอรหัตที่บรรลุนั่นเอง. ท่านเป็นเอหิภิกษุ ทรงไว้ซึ่งบาตรและจีวรอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์ ก็เข้าไปเรือนยอด (หลังที่ว่าง) พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้อยู่ที่เรือนยอด เสด็จไปวานิชคาม กระทำเรือนยอดไม่ให้มีใครเห็นแล้ว เสด็จเข้ายังวานิชคาม. พวกพ่อค้าถวายทานแด่สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วนำพระศาสดาไปยังกุฏาคาร. พระศาสดาได้เสด็จเข้าไปยังโรงกลม. มหาชนบริโภคอาหารเช้าตราบเท่าที่คิดว่า พระศาสดาทรงสงบระงับความหิวอาหาร แล้วสมาทานองค์อุโบสถ ถือเอาของหอมและดอกไม้เป็นอันมาก กลับมายังอารามเพื่อต้องการฟังธรรม. พระศาสดาทรงแสดงธรรมเกิดเป็นประมุขที่ผูกเป็นหุ่นของมหาชน. โกลาหลเพราะพระพุทธองค์ได้มีเป็นอันมาก. พระศาสดาประทับอยู่ในที่นั้นนั่นเองตลอด ๗ วันเพื่อสงเคราะห์มหาชน. พออรุณขึ้นก็ได้ปรากฏอยู่ในมหาคันธกุฏีนั้นเอง. ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ๗ วัน การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐. พระองค์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น ๗ วัน เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในวานิชคาม ให้พระปุณณเถระกลับด้วยตรัสสั่งว่า เธอจงอยู่ในที่นี้แล ได้เสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีอันมีอยู่โดยลำดับ. พระยานาคนัมมทากระทำการต้อนรับพระศาสดา ให้เสด็จเข้าไปสู่ภพนาค ได้กระทำสักการะต่อพระรัตนตรัย. พระศาสดาแสดงธรรมแก่พระยานาคนั้น แล้วออกจากภพนาค. พระยานาคนั้นอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงประทานสิ่งที่ควรสละแก่ข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเจดีย์คือรอยพระบาทไว้ ณ ฝั่งแม่น้ำนัมมทานที เจดีย์คือรอยพระบาทนั้น เมื่อคลื่นหลากมาๆ ย่อมปิด เมื่อคลื่นไปแล้วย่อมเปิดออก ความถึงพร้อมด้วยมหาสักการะได้มีแล้ว. "
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ ฉันนวรรคที่ ๔ ๕. ปุณณสูตร อรรถกถาปุณณสูตรที่ ๕
จากคุณ |
:
ผ้าพับไว้
|
เขียนเมื่อ |
:
22 ธ.ค. 55 00:18:59
|
|
|
|
 |