 |
กลับมาเรื่องเก่าๆ กันบ้างครับ คราวนี้เก่ากว่าครั้งที่แล้วอีกครับ ผมเป็นคนชอบนั่งรถเมล์มาตั้งแต่เด็ก ก็ชอบสังเกตสังกาว่าอะไรเป็นอะไร เคยถามผู้ใหญ่ตั้งแต่เด็ก เพราะนั่งรถเห็นตรงป้อมมหากาฬถามว่านี่คืออะไร? ได้รับคำตอบว่าเป็นกำแพงเมืองเก่า ทำไมถึงทุบทิ้งและแล้วป้อมอื่นๆ อยู่ตรงไหนบ้าง? ผุ้ใหญ่ก็ตอบว่า ไม่รู้ ครับก็เก็บคำถามไว้แล้วมาคำตอบในตอนโตครับ อย่าช้าเลยมาลุยพร้อมกันเลยครับ
ลืมบอกไป หลายท่านรู้ว่าสมัยก่อน กรุงเทพฯ เรียกว่า บางกอก แต่อาจไม่รู้ว่า กรุงเทพฯ มีชื่อที่ถูกต้องโดยต้องเรียกว่า กรุงรัตนโกสินทร์ นะครับ เหมือนเราเรียก กรุงศรีอยุธยา หรือ กรุงสุโขทัย ครับ ถามว่าทำไม? อ่านต่อไปแล้วจะทราบครับผม
เริ่มต้นด้วยประวัติคร่าวๆ กันดีกว่าครับ เดี๋ยวไม่รู้ที่มาที่ไป
ประเทศไทยนั้นมีประวัติศาสตร์สืบย้อนขึ้นไปได้กว่า 800 ปี มีเมืองหลวงได้ 4 ครั้งแล้ว ราชธานีแรกคือกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน
โดยเฉพาะ กรุงศรีอยุธยา นั้นมีชื่อเต็มๆ ว่า กรุงเทพมหานคร บวรทวารวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานี บุรีรมย์ จะเห็นว่ามีคำว่า กรุงเทพ ด้วยนะครับ กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงได้ 400 ปี ย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรี หรือ กรุงรัตนโกสินทร์ก็ดี คำเรียกเมืองหลวงว่ากรุงเทพมหานคร ก็ใช้นำหน้านามพระนครเหมือนเดิม
เมื่อรัชกาลที่ 1 ทรง สถาปนาราชธานีใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของ แม่น้ำเจ้าพระยา เสร็จการฉลองพระนครแล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ เปลี่ยนแปลงจากครั้ง กรุงศรีอยุธยาว่า กรุงรัตนโกสินทร์อินท์ อโยธยา
ในรัชกาลที่ 3 ได้ทรงแก้นามพระนครเป็น กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา
ในรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ ชื่อ กรุงรัตนโกสินทร์จึงมีนามเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ อันแปลความหมายได้ว่า
กรุงเทพมหานคร = พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร อมรรัตนโกสินทร์ = เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต มหินทรายุธยา = เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มหาดิลกภพ = มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ = เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการน่ารื่นรมย์ยิ่ง อุดมราชนิเวศมหาสถาน = มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย อมรพิมานอวตารสถิต = เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์ = ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้
เพราะฉะนั้น พอได้อ่านเรื่องราวข้างต้นแล้ว ถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง เราต้องเรียกเมืองหลวงของเราว่า กรุงรัตนโกสินทร์ จึงจะถูกต้องนะครับ จำได้ว่าในสมัยฉลองครบรอบกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี (พ.ศ. 2525) มีการรณรงค์ให้เรียกชื่อเมืองหลวงว่า กรุงรัตนโกสินทร์ แล้วก็เงียบหายไปกับสายลมครับ
มูลเหตุเมืองหลวงของเราชื่อ กรุงรัตนโกสินทร์ นั้น เกิดจากในรัชกาลที่ 1 ทรงเลื่อมใสใน พระแก้วมรกตหรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร เมื่อทรงตั้งชื่อพระนครจึงมีพระราชประสงค์ให้ชื่อพ้องกับพระนามของ องค์พระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร ครับ
กลับมาเรื่องของป้อมและกำแพงเมืองกันบ้างครับ ในสมัยเรียนคุณครูของพวกเราสอนว่า เราย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีฝั่งตะวันตกข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันนี้ โดยสร้างตามแนวคูเมืองในฝั่งเหนือ,ตะวันออก และเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในฝั่งตะวันตก โดยปัจจุบันเหลืออยู่ 2 ป้อมที่ไม่โดนทุบทิ้ง คือ ป้อมมหากาฬ (ตรงสะพานผ่านฟ้า) และป้อมพระสุเมธุ (ตรงถนนพระอาทิตย์ก่อนถึงบางลำพู)
มาไล่เรียงทั้ง 14 ป้อมกันครับผม
จากคุณ |
:
ณ นนทบุรี
|
เขียนเมื่อ |
:
24 ธ.ค. 55 02:35:08
|
|
|
|
 |