ชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯเป็นระยะทาง 785 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,678 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบ อันอุดมสมบูรณ์ ริมฝั่งแม่น้ำหลายสาย เชียงรายอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 416 เมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ และ 5 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเชียงของ อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอป่าแดด อำเภอเวียงชัย อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเทิง อำเภอเวียงแก่น กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง กิ่งอำเภอขุนตาล กิ่งอำเภอแม่ลาว กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง และกิ่งอำเภอดอยหลวง

ทิศเหนือ ติดต่อกับสหภาพพม่า
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ

อำเภอพาน 46 กิโลเมตร
อำเภอเทิง 64 กิโลเมตร
อำเภอแม่จัน 20 กิโลเมตร
อำเภอแม่สาย 63 กิโลเมตร
อำเภอเวียงป่าเป้า 91 กิโลเมตร
อำเภอเชียงของ 141 กิโลเมตร

อำเภอแม่สรวย 53 กิโลเมตร
อำเภอเชียงแสน 60 กิโลเมตร
อำเภอป่าแดด 52 กิโลเมตร
อำเภอเวียงชัย 12 กิโลเมตร
อำเภอพญาเม็งราย 48 กิโลเมตร
อำเภอเวียงแก่น 127 กิโลเมตร
การเดินทาง
ทางรถยนต์ ทางรถยนต์ สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 11 จากอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ผ่านตากฟ้า-วังทอง-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 103 ไปอำเภองาว แยกขวา เข้าทางหลวง หมายเลข 1 ผ่านพะเยาไปจังหวัดเชียงราย รวมระยะทางประมาณ 785 กิโลเมตร ขา กลับใช้เส้นทางเชียงราย-เชียงใหม่ ผ่านอำเภอแม่สรวย-เวียงป่าเป้า-แม่ขะจาน-ดอนสะเก็ด ทิวทัศน์สองข้างทาง เป็นป่าเขาสวยงาม เมื่อเดินทาง มาถึงเชียงใหม่แล้ว จะมีทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำพูนมาลำปาง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1 เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ ได้
ทางรถประจำทาง รถประจำทาง   มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของ บ.ข.ส. และของเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ไปเชียงรายทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ ถ.กำแพงเพชร 2 โทร. 936-3660, 936-3666
ทางรถไฟ รถไฟ   จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ โดยสารรถไฟไปลงที่จังหวัดลำปางหรือเชียงใหม่ แล้วเดินทางต่อไปโดยรถยนต์ ไปจังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียด ได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 223-7010, 223-7020
ทางเครื่องบิน เครื่องบิน   บริษัท การบินไทย มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปเชียงราย และเที่ยวบินไป-กลับ ระหว่างเชียงราย-เชียงใหม่ ทุกวัน สอบถามรายละเอียด โทร. 1566 สำรองที่นั่ง โทร. 280-0060, 628-2000 สำนักงานเชียงราย โทร. (053) 711179, 715207 สำนักงานเชียงใหม่ โทร. (053) 210043-5, 211044

         ากสถานีขนส่งเชียงราย มีรถโดยสารไปเชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง แม่สอด พิษณุโลก พัทยา นครราชสีมา นครพนม อุดรธานี และขอนแก่น ติดต่อสถานีขนส่งเชียงราย โทร. (053) 711224

สถานที่ท่องเที่ยว

      เขตอำเภอเมือง

            อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช    ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงราย บริเวณทางแยก ที่จะไปอำเภอแม่จัน พ่อขุนเม็งราย เป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลวะ เป็นโอรสของ พระเจ้าลาวเม็ง และพระนาง เทพคำขยาย หรือพระนาง อั้วมิ่งจอมเมือง ประสูติ เมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ พุทธศักราช 1781 หลังจากเสด็จ ขึ้นครองราชย์ได้ 1 ปี พระองค์ทรงสร้าง เมืองเชียงราย เป็นเมืองหลวง แทนหิรัญนครเงินยาง และเสด็จสวรรคต ในปีพุทธศักราช 1860

          กู่พระเจ้าเม็งราย    ตั้งอยู่หน้า วัดงำเมือง บนดอยงำเมือง กู่นี้ เป็นอนุสาวรีย์ สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุอัฐิ ของพ่อขุน เม็งรายมหาราช ตามประวัติ กล่าวว่า พระเจ้าไชยสงคราม ราชโอรส พระเจ้าเม็งราย เมื่อได้มอบ ราชสมบัติ ให้พระเจ้าแสนภู ราชโอรส ให้ขึ้นครอง นครเชียงใหม่แล้ว พระองค์ ก็นำอัฐิ พระราชบิดา มาประทับ อยู่ที่เมืองเชียงราย และได้โปรดเกล้าฯ สร้างกู่บรรจุอัฐิ ของพระราชบิดาไว้ ณ ดอยงำเมืองแห่งนี้

            วัดพระสิงห์    ตั้งอยู่ที่ ถนนสิงหไคล ริมแม่น้ำกก ใกล้ศาลากลางจังหวัด แต่เดิมเคยเป็น ที่ประดิษฐาน พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ประดิษฐาน อยู่ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ในปัจจุบัน ตามประวัติเล่าว่า เจ้ามหาพรหม พระอนุชา ของพระเจ้ากือนา กษัตริย์ ผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้อัญเชิญ พระพุทธสิงหิงค์ มาจาก เมืองกำแพงเพชร พระเจ้ากือนา ได้โปรดฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ เมืองเชียงใหม่ ต่อมา พระเจ้ามหาพรหม ทูลขอยืม พระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐาน ไว้ที่เมืองเชียงราย เพื่อหล่อจำลอง แต่เมื่อสิ้นบุญ พระเจ้ากือนา และพระเจ้าแสนเมือง ราชนัดดา ของพระองค์ ได้เสด็จ ขึ้นครองเมือง เชียงใหม่ เจ้ามหาพรหม คิดจะชิงราชสมบัติ จึงยกกองทัพ จากเชียงราย ไปประชิด เมืองเชียงใหม่ แต่เจ้าแสนเมือง ก็สามารถ ป้องกันเมืองได้อีก ทั้งยกทัพ ตีทัพ เจ้ามหาพรหม มาถึงเชียงราย และครั้งนี้เอง ที่ทรงอัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์ คืนกลับไป ประดิษฐาน อยู่ที่วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ สืบมา
         วัดนี้ นอกจากเคยเป็น ที่ประดิษฐาน พระพุทธสิงหิงค์แล้ว ยังมีรอยพระพุทธบาท จำลอง บนแผ่นศิลา กว้าง 5 นิ้ว ยาว 2 ฟุต มีอักษรขอมโบราณ จารึกว่า "กุศลาธมมา - อกุศลาธมมา" สันนิษฐานว่า สร้างในสมัย พระเจ้าเม็งรายมหาราช


Album รูป - จ.เชียงใหม่  วัดพระแก้ว   ตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ ใจกลางเมืองเชียงราย วัดนี้เอง ที่ได้ค้นพบ พระแก้วมรกต หรือพระพุทธ มหามณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ตามประวัติ เล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 1897 ในสมัย พระเจ้าสามฝั่งแกน เป็นเจ้าเมือง ครองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่า เจดีย์ร้าง องค์หนึ่ง และได้พบ พระพุทธรูป ลงรักปิดทอง อยู่ภายในเจดีย์ ต่อมา รักกะเทาะออก จึงได้พบว่า เป็นพระพุทธรูป สีเขียว ที่สร้างด้วยหยก ซึ่งก็คือ พระแก้วมรกตนั่นเอง ปัจจุบัน วัดพระแก้ว เชียงราย เป็นที่ประดิษฐาน พระหยก ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ในวาระที่ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี มีพระชนมายุ ครบ 90 พรรษา

            วัดพระธาตุดอยจอมทอง    อยู่บนดอยจอมทอง ริมฝั่งแม่น้ำกก ในเขตตัวเมือง เชียงราย ตามตำนานเล่าว่า เป็นพระธาตุเก่าแก่ ที่มีก่อน ที่พ่อขุนเม็งราย จะทรงสร้าง เมืองเชียงราย โดยเล่าว่า พระยาเรือนแก้ว ผู้ครองนคร ไชยนารายณ์ ทรงสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1483 สันนิษฐานว่า เมื่อพ่อขุนเม็งราย ทรงพบชัยภูมิ ที่สร้างเมืองเชียงราย จากดอยจอมทองนั้น คงจะมีการ บูรณะองค์พระธาตุใหม่ พร้อมๆ กับ การสร้างเมืองเชียงราย นับว่าพระธาตุ ดอยจอมทอง เป็นปูชนียสถานสำคัญ ในตัวเมือง เชียงราย แห่งหนึ่ง

            ศูนย์หัตถกรรม    ดำเนินการโดยเอกชน ตั้งอยู่เลขที่ 273 หมู่ 5 ถนนพหลโยธิน จากตัวเมืองตามเส้นทางไปอำเภอแม่จัน ประมาณ 3 กิโลเมตร (ติดถนนใหญ่ด้านขวามือ) ภายในบริเวณศูนย์มีการสาธิตการทอผ้าและทำเซรามิก มีการจำหน่ายสินค้า ที่ผลิตได้ภายในศูนย์ฯ และสินค้าจากพม่า เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมการทำงานและซื้อสินค้าได้ทุกวัน

            สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ เชียงราย    ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 8 กิโลเมตร บนเส้นทางเชียงราย-แม่จัน เข้าไปทางด้านหลังสถาบันราชภัฏเชียงราย ภายในสวน มีทัศนียภาพสวยงาม บรรยากาศร่มรื่นในเนื้อที่ 620 ไร่ มีหนองบัวที่กว้างขวางถึง 223 ไร่ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้สถานที่แห่งนี้ น่าไปพักผ่อนหย่อนใจ เพราะน้ำในหนองบัวใสเย็น และเต็มเปี่ยมตลอดปี บนพื้นที่รอบหนองบัวเป็นที่ตั้งของพลับพลา ศาลาพักแดดและมีสวนปาล์ม สวนไผ่อยู่บนที่ลาดเนินเขา

            ไร่แม่ฟ้าหลวง    เป็นมูลนิธิ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านป่างิ้ว ตำบลรอบเวียง ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 4 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางผ่านหน้าค่ายเม็งรายมหาราชไปทางวัดฮ่องลี่ สำหรับที่มาครั้งแรกนั้น ได้มีโครงการให้การศึกษา แก่ชาวเขาในลักษณะเดินสอนเกิดขึ้น ต่อมาเปลี่ยนแนวความคิด ที่จะนำชาวเขาเข้ามาทำการศึกษาในตัวเมือง โดยเข้าศึกษาในโรงเรียนทั่วไป เพื่อที่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้กลับไปให้ความรู้แก่ชุมชนเดิมต่อไป หลังจากนั้นได้ถวายโครงการดังกล่าว แด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีฯ และจัดตั้งเป็นมูลนิธิไร่แม่ฟ้าหลวงขึ้น

            วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์   อยู่บนเทือกเขาดอยช้าง ตำบลแม่กรณ์ ห่างจากตัวเมืองตามทางหลวงหมายเลข 1211 ประมาณ 18 กม. เลี้ยวขวาเข้าไป 12 กม. หรือไปตามทางหลวงหมายเลข 1 สายเชียงราย-พะเยา ประมาณ 15 กิโลเมตร จะมีป้ายแยกขวาไปอีก 17 กิโลเมตร ถึงที่ทำการวนอุทยานฯ แล้วเดินเท้าไปยังตัวน้ำตกอีกประมาณ 30 นาที น้ำตกขุนกรณ์เป็นน้ำตกที่สูงและสวยที่สุดของจังหวัดเชียงราย ชาวบ้านเรียกว่า "น้ำตกตาดหมอก" มีความสูงถึง 70 เมตร สองข้างทางที่เดินเข้าสู่น้ำตกเป็นป่าเขาธรรมชาติร่มรื่น

          รัตนาการ์เด้นส์   ดำเนินการโดยเอกชน ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่กรณ์ ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1211 ประมาณ 15 กิโลเมตร เส้นทางเดียวกับทางไปวนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ จัดทำเป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับและกล้วยไม้นานาชนิด ทั้งในและต่างประเทศ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ ภายในมีบริการร้านอาหารและที่พัก สอบถามรายละเอียด โทร. (01) 925-5945, 960-5509

            แม่น้ำกก    เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเชียงราย มีความยาวรวมทั้งสิ้น 130 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือจากท่าเรือริมแม่น้ำ จากตัวเมืองเพื่อท่องเที่ยวชมทัศนียภาพของแม่น้ำกก ซึ่งสองฟากฝั่งเป็นป่าเขาที่สวยงามตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังสามารถแวะชมหมู่บ้านชาวเขาต่างๆ เช่น อีก้อ ลีซอ กะเหรี่ยง ฯลฯ หรือจะแวะปางช้างเพื่อนั่งช้างเที่ยวป่ารอบบริเวณนั้นก็ได้ อัตราค่าเช่าเหมาเรือขึ้นอยู่กับระยะทาง


     เขตอำเภอแม่จัน

            ดอยแม่สลอง   เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสันติคิรี เดิมชื่อบ้านแม่สลองนอก เป็นชุมชนผู้อพยพจากกองพล 93 ซึ่งอพยพจากประเทศพม่าเข้ามาในเขตไทย จำนวนสองกองพันคือ กองพันที่ 3 เข้ามาอยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองพันที่ 5 อยู่ที่บ้านแม่สลองนอก ตั้งแต่ปี 2504
    ในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ จะมีดอกนางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นซากุระพันธ์ที่เล็กที่สุด สีชมพูอมขาว บานสะพรั่งตลอดแนวทางขึ้นดอยแม่สลอง เป็นพันธุ์ไม้ที่เคยหาชมได้ยากในเมืองไทย เพราะเจริญเติบโต อยู่แต่เฉพาะในภูมิอากาศหนาวจัดเท่านั้น
    การเดินทางใช้เส้นทางเชียงราย-แม่จัน เลยจากอำเภอแม่จันไป 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไป 12 กิโลเมตร ถึงศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา เลยจากศูนย์ฯ ไปอีก 11 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านเย้าผาเดื่อ ซึ่งเป็นจุดแวะชมและซื้อหัตถกรรมชาวเขา จากนั้นเดินทางจากบ้านเย้าถึงบ้านอีก้อสามแยกทางขวาไปหมู่บ้านเทอดไทย ส่วนแยกซ้ายไปดอยแม่สลอง ระยะทาง 18 กิโลเมตร รวมระยะทางจากเชียงราย 42 กิโลเมตร เป็นทางราดยางตลอดสาย และจากดอยแม่สลองมีถนนเชื่อมต่อไปถึงบ้านท่าตอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 45 กิโลเมตร ท่านที่ใช้รถโดยสารประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวได้ที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. แม่จัน หรือใช้บริการของบริษัทนำเที่ยวในตัวเมืองเชียงรายก็ได้


            หมู่บ้านอีก้อดอยแสนใจ    จากศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางขึ้นสู่ดอยแม่สลอง จะมีทางเดินแยกไปอีกเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร หมู่บ้านอีก้อดอยแสนใจเป็นหมู่บ้านใหญ่ ชาวเขาเผ่าอีก้อมีเครื่องแต่งกายที่สวยงาม และมีประเพณีที่น่าสนใจคือ ประเพณีโล้ชิงช้า ซึ่งจัดขึ้นในราวเดือนสิงหาคมของทุกปี การเดินทางไปยังหมู่บ้านอีก้อ ควรใช้รถที่มีกำลังเครื่องยนต์สูง เพราะทางขึ้นค่อนข้างสูงชัน

             ดอยหัวแม่คำ    จากเชียงรายใช้เส้นทางเดียวกับทางขึ้นดอยแม่สลอง แต่เมื่อเดินทางถึงบ้านอีก้อสามแยกแล้ว แยกเข้าเส้นทางที่ไปบ้านเทอดไทย จากนั้นจะพบทางแยกอีกครั้ง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านห้วยอิ้น ระหว่างทางจะผ่านหมู่บ้านชาวเขา ซึ่งตั้งอยู่เป็นระยะ บ้านหัวแม่คำอยู่เกือบสุดชายแดนพม่า เส้นทางเป็นทางลูกรังคดโค้งไปตามทิวเขา ใช้เวลาเดินทางราว 3-4 ชั่วโมง ดอยหัวแม่คำเป็นที่ตั้งหมู่บ้านชาวเขาขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเผ่าลีซอ ซึ่งเป็นกลุ่มชนส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอีก้อ ม้ง และมูเซอ ในช่วงเวลาซึ่งตรงกับวันตรุษจีนของทุกปี ชาวลีซอจะจัดงานประเพณีกินวอ ในวันนั้น ชาวลีซอจะแต่งกายสวยงาม มีการกินเลี้ยง เต้นระบำ รื่นเริง เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน และในเดือนพฤศจิกายน จะเป็นช่วงที่ดอยหัวแม่คำบาน งดงามไปด้วยดอกบัวตองบานสีเหลืองสดใส บานสะพรั่งอยู่ทั่วไปตามแนวเขา


     เขตกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง

        ากตัวเมืองเชียงรายตามทางหลวงหมายเลข 110 ประมาณ 48 กิโลเมตร ถึงหลักกิโลเมตรที่ 871-872 แยกซ้ายเข้าทางหลวง 1149 ที่บริเวณบ้านห้วยไคร้ ซึ่งเป็นเส้นทางราดยางขึ้นสู่ดอยตุงลัดเลาะไปตามภูมิประเทศที่งดงามและผ่านสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง

            อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ไร   ตั้งอยู่ริมเส้นทางหลวงหมายเลข 1149 ประมาณกิโลเมตรที่ 4 อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ไร่ เป็นที่เก็บกักน้ำไว้สำหรับใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกรรมริมขอบอ่างเป็นที่ตั้งสถานีวิจัยกรมวิชาการเกษตร และสถานีทดลองเพาะและขยายพันธุ์ไม้ตัดดอก ได้แก่ เบิร์ดออฟพาราไดส์ เฮลิโคเนีย และขิงแดง บริเวณขอบอ่างได้รับการปรับปรุงบริเวณปลูกไม้ดอกไม้ประดับงดงาม เหมาะสำหรับเป็นสถานที่แวะพักกลางทาง

            พระตำหนักดอยตุง    อยู่บริเวณกิโลเมตร 12 ทางหลวงหมายเลข 1149 เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระตำหนักเป็นอาคารสองชั้น มีรูปทรงผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนากับชาเลย์ของสวิส มีการแกะสลักไม้ตามกาแล เชิงชายและขอบหน้าต่างเป็นลวดลายต่างๆ ฝีมือช่างชาวเหนือ

            สวนแม่ฟ้าหลวง    อยู่ด้านหน้าพระตำหนักดอยตุง เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับนานาพรรณ มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ออกแบบเป็นรูปลายผ้าพื้นเมืองใช้ต้นซัลเวียดอกสีแดง ขาว และม่วงเข้ม สวยสดสะดุดตามาก ตรงกลางมีรูปปั้นต่อเนื่อง ฝีมือปั้นของคุณมีเซียมยิปอินซอย นอกจากจะใช้ไม้ใบไม้ดอกแล้ว ยังใช้ไม้ยืนต้นและซุ้มไม้เลื้อยอีกมากกว่า 70 ชนิด จัดทางเดินไว้เป็นสัดส่วน มีศาลาชมวิวและร้านจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง สวนแม่ฟ้าหลวงสร้างโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. ค่าเข้าชม คนละ 20 บาท

            อ่างเก็บน้ำป่ากล้วย   ตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1149 ห่างจากจุดชมวิว กิโลเมตรที่ 12 ประมาณ 2 กิโลเมตร อ่างเก็บน้ำป่ากล้วย กักเก็บน้ำไว้สำหรับใช้ในศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาดอยตุง ริมอ่างเป็นแปลงทดลองเพาะขยายพันธุ์ไม้ดอกเมืองหนาว โดยเฉพาะดอกซัลเวีย เป็นจุดพักริมทางและชมทัศนียภาพระหว่างพระตำหนักดอยตุงกับพระธาตุดอยตุง

            สถูปดอยช้างมูบ    ตั้งอยู่บนดอยช้างมูบ ริมถนนสายพระธาตุดอยตุง บ้านผาหมี ห่างจากทางแยกวัดน้อยดอยตุงประมาณ 4 กม. ตำนานสิงหนวัติและตำนานโยนกนาคพันธ์กล่าวถึงดอยช้างมูบว่า ในรัชกาลที่ 10 พระเจ้าชาติราช ได้มีกัมระปติสะโลเทพบุตร นำไม้นิโครธมาปลูก ณ ดอยช้างมูบ ต้นไม้นั้นเมื่อโตได้สูง 7 ศอก ได้แตกสาขาเป็น 4 กิ่ง สามารถให้ร่มเงาให้แก่คนได้ 20 คน ประชาชนมีความเชื่อว่าหากนำไม้มาค้ำกิ่งนิโครธนั้น จะทำให้บรรลุความปรารถนาเช่นเดียวกับต้นกัลปพฤกษ์ กล่าวคือ ทิศตะวันออก ได้บุตรสมประสงค์ ทิศเหนือได้ทรัพย์ ทิศตะวันตกเจริญรุ่งเรือง และทิศใต้อายุยืนนาน ปัจจุบันคงเหลือเพียงพระสถูปช้างมูบ เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่ ซึ่งมีลักษณะเหมือนช้างหมอบอยู่ สภาพโดยรอบเป็นต้นโพธิ์ใหญ่ และต้นสนซึ่งใช้ปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ

        พระธาตุดอยตุง    ตั้งอยู่บริเวณ กม. ที่ 17.5 ของทางหลวงหมายเลข 1149 เป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งนำมาจากมัธยมประเทศ นับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทย เมื่อก่อสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ ได้ทำธงตะขาบ (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ตุง) ใหญ่ยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอย ถ้าหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน ก็กำหนดหมายเป็นฐานพระสถูปเพียงนั้น ด้วยเหตุนี้ดอยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปฐมเจดีย์แห่งล้านนาไทย จึงปรากฏนามว่า ดอยตุง จนบัดนี้ พระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่ในกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงนี้จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน ประเทศสหภาพพม่า ชาวหลวงพระบาง เวียงจันทน์ เดินทางเข้ามานมัสการทุกปี

        หมู่บ้านชาวเขา   ระหว่างทางขึ้นสู่ยอดดอยตุง มีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถแวะชมได้สะดวก เช่น หมู่บ้านชาวเขาเผ่าอีก้อ มูเซอ และจีนฮ่อ นอกจากนี้ยังมีแหล่งขายสินค้าหัตถกรรมของชาวเขาอยู่บริเวณ กม. ที่ 14 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับ เครื่องแต่งกายชาวเขา และเครื่องเงิน ซึ่งนักท่องเที่ยวมักแวะซื้อกลับไปเป็นของที่ระลึก

        จุดชมวิว   บริเวณดอยตุงมีจุดชมวิวที่สวยงามหลายแห่ง ริมทางหลวงหมายเลข 1149 มีจุดชมวิวที่ กม. 12 และ กม. 14 นอกจากนี้ตามเส้นทางวัดน้อยดอยตุง-บ้านผาหมี ซึ่งเป็นถนนทอดยาวไปตามแนวเขาผ่านยอดดอยหลายลูก มีจุดชมวิวซึ่งมองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล เช่น จุดชมวิวบนดอยช้างมูบ ดอยผาฮี้ และดอยผาหมี


     เขตอำเภอแม่สาย

            อำเภอแม่สาย   อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 62 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 110 เป็นอำเภอเหนือสุดของประเทศไทย ติดต่อกับท่าขี้เหล็กของพม่า โดยมีแม่น้ำแม่สายเป็นพรมแดน มีสะพานเชื่อมเมืองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยมีรั้วเหล็กกั้นกึ่งกลางสะพาน แสดงเส้นพรมแดนของแต่ละประเทศ ภายในเขตพรมแดนของแต่ละประเทศมีป้อมยามของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของตน ทั้งชาวไทยและชาวพม่าเดดินทางไปมาหาสู่ค้าขายกันได้โดยเสรี สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมเดินทางไปยังท่าขี้เหล็กของพม่า เพื่อซื้อสินค้าพื้นเมืองและสินค้าราคาถูกอื่นๆ เช่น ตะกร้า เครื่องทองเหลือง สบู่พม่า สมุนไพร บุหรี่ ฯลฯ การข้ามไปท่าขี้เหล็กไม่มีพิธีการอะไรมากนัก นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเข้าเขตประเทศพม่าได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-18.00 น. เสียค่าธรรมเนียมคนละ 5 บาท สำหรับชาวต่างประเทศ 5 เหรียญสหรัฐ โดยนำหนังสือเดินทางไปติดต่อกับด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สาย ปัจจุบันนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเที่ยวได้ถึงจังหวัดเชียงตุงของพม่า

            พระธาตุดอยเวา   ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สาย บนดอยริมฝั่งแม่น้ำสาย ตามประวัติกล่าวว่า พระองค์เวาหรือเว้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนก เป็นผู้สร้างเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุองค์หนึ่งเมื่อ พ.ศ. 364 นับเป็นพระบรมธาตุที่เก่าแก่องค์หนึ่งรองมาจากพระบรมธาตุดอยตุง

            ถ้ำผาจม    ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สาย อยู่ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถ้ำผาจมตั้งอยู่บนดอยอีกลูกหนึ่ง ทางทิศตะวันตกของดอยเวา ติดกับแม่น้ำสาย เคยเป็นสถานที่ซึ่งพระภิกษุสงฆ์นั่งบำเพ็ญเพียรภาวนา เช่น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบันมีรูปปั้นของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานไว้บนดอยด้วย ภายในถ้ำผาจมมีหินงอกหินย้อยอยู่ตามผนังและเพดานถ้ำ สวยงามวิจิตรตระการตา

            ถ้ำปุ่ม ถ้ำปลา ถ้ำเสาหินพญานาค   ตั้งอยู่ที่ดอยจ้อง หมู่ 11 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศใต้ ตามทางหลวงหมายเลข 110 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ดอยจ้องเป็นภูเขาหินปูน จึงประกอบด้วย ถ้ำหินงอก หินย้อย และทางน้ำไหลมากมาย
              ถ้ำปุ่ม อยู่สูงขึ้นไปยอดเขา ต้องปืนขึ้นไป ภายในถ้ำมืดมาก ต้องมีผู้นำทางเที่ยวชม
              ถ้ำปลา เป็นถ้ำหนึ่งที่มีน้ำไหลภายในถ้ำ เคยมีปลาชนิดต่างๆ ทั้งใหญ่น้อยว่ายออกมาให้เห็นเป็นประจำ ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปศิลปะพม่า สร้างขึ้นโดยพระภิกษุชาวพม่า ประชาชนทั่วไปเรียกว่า "พระทรงเครื่อง" เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในแถบนี้
              ถ้ำเสาหินพญานาค อยู่ในบริเวณเดียวกัน เดิมต้องพายเรือข้ามน้ำเข้าไปชม ภายหลังได้สร้างทางเดินเชื่อมกับถ้ำปลา เป็นระยะทาง 150 เมตร ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย และยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมด้วย


            ขุนน้ำนางนอน    ตั้งอยู่ที่บ้านจ้อง หมู่ 1 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศใต้ ตามทางหลวงหมายเลข 110 ไปประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 2 กม. เป็นแอ่งน้ำไหลจากถ้ำบริเวณเชิงดอยจ้อง ซึ่งมีหลายถ้ำ น้ำในแอ่งใสเย็น สภาพแวดล้อมร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่น้อย ประชาชนในท้องถิ่นนิยมเข้ามาพักผ่อน


NEXT